ประวัติศาสตร์ลาวยุคต้น
ตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์เมื่อประมาณ 4,000 – 5,000 ปีก่อน กลุ่มชนที่พูดภาษาไตได้อพยพเข้ามาอยู่ในประเทศลาวและที่ราบสูงในภาคอีสาน รวมถึงพวกไท- กะได ม้ง-เมี่ยนที่เป็นบรรพบุรุษของชาวลาวลุ่ม และพวกม้ง-เย้าที่อพยพจากตอนใต้ของประเทศจีน แรกเริ่มกลุ่มชนเหล่านี้ไม่มีการตั้งหลักแหล่งที่แน่นอน ต่อมาเมื่อชนเผ่าต่างๆ ทั้งไท พม่า และเวียดนามอพยพลงมาในเขตเทือกเขาและหุบเขาของดินแดนเอเชียอาคเนย์ ซึ่งเป็นถิ่นที่อยู่ของชนชาติมอญ-เขมร ความจำเป็นในการสร้างบ้านแปงเมืองก็เริ่มมีขึ้นจนพัฒนาต่อมาเป็นเมืองเกษตรกรรม และตั้งถิ่นฐานอยู่บริเวณหุบเขาและที่ราบลุ่มภายใต้อำนาจของอาณาจักรเขมร
ต่อมาในปี พ.ศ.1896 พระเจ้าฟ้างุ้มทรงทำสงครามตีเอานครเวียงจันทน์หลวงพระบาง หัวเมืองพวนทั้งหมด ตลอดจนหัวเมืองอีกหลายแห่งในที่ราบสูงโคราชเข้ารวมเป็นอาณาจักรเดียวกัน ภายใต้การช่วยเหลือของกษัตริย์เขมร ก่อตั้งเป็นอาณาจักรล้านช้างขึ้นบนดินแดนที่ตั้งอยู่กึ่งกลางระหว่างลุ่มแม่น้ำโขงกับเทือกเขาอันหนำ มีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองเชียงดง-เชียงทอง เป็นอาณาจักรที่รุ่งเรืองในทุกด้าน หลังจากสถาปนาเมืองเชียงดง-เชียงทอง แล้ว พระเจ้าฟ้างุ้มทรงรับพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์ (นิการเถรวาท) จากราชสำนักเขมรมาเป็นศาสนาประจำชาติ และได้อัญเชิญพระบาง เป็นพระพุทธรูปศิลปะสิงหลจากราชสำนักเขมรมายังล้านช้าง เจ้าฟ้างุ้มทรงเปลี่ยนชื่อเป็น “เมืองหลวงพระบาง”
เมื่อพระเจ้าฟ้างุ้มสิ้นพระชนม์ พระยาสามแสนไทไตรภูวนาถ โอรสของพระเจ้าฟ้างุ้มได้ขึ้นครองราชย์ต่อ อาณาจักรล้านช้างเริ่มตกต่ำลงเพราะสงครามแย่งชิงอำนาจและเกิดกบฏต่างๆ นานนับร้อยปี จนถึง พ.ศ. 2063 พระโพธสารราชเจ้าขึ้นครองราชย์ และรวบรวมแผ่นดินขึ้นใหม่ให้เป็นปึกแผ่น และให้ย้ายเมืองหลวงของอาณาจักรล้านช้างไปอยู่ที่เมืองเวียงจันทน์ เพื่อให้ไกลจากการรุกรานของสยาม และสร้างความเจริญให้กับอาณาจักรล้านช้างเป็นอย่างมากและทรงมีสายพระเนตรยาวไกล ทรงโปรดให้พระเจ้าไชยเชษฐาธิราชพระราชโอรสไปครองอาณาจักรล้านนา เพื่อเป็นการคานอำนาจพม่า ครั้นเมื่อพระเจ้าโพธิสารราชเจ้าเสด็จสวรรคต พระเจ้าไชยเชษฐาธิราชเสด็จกลับมาล้านช้าง และทรงอัญเชิญพระแก้วมรกตจากเชียงใหม่ไปยังเวียงจันทน์ ในรัชสมัยของพระองค์พระพุทธศาสนาทรงมีความเจริญรุ่งเรืองมาก ทรงสร้างวัดพระธาตุหลวง หรือที่เรียกว่า “พระธาตุเจดีย์โลกจุฬามณี” และสร้างวัดพระแก้วขึ้นเพื่อประดิษฐานพระแก้วมรกต และ พระองค์มีความสัมพันธไมตรีที่แนบแน่นกับกษัตริย์ไทย โดยเฉพาะในรัชสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ พระเจ้าสุริยวงศาธรรมิกราช รัชสมัยของพระองค์นับเป็นยุคทองของราชอาณาจักรล้านช้าง ภายหลังเมื่อพระองค์สวรรคตแล้ว เชื้อพระวงศ์ลาวต่างก็แก่งแย่งราชสมบัติกัน จนอาณาจักรล้านช้างแตกแยกเป็น 3 ส่วนคือ อาณาจักรล้านช้างหลวงพระบาง อาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์และอาณาจักรล้านช้างจำปาศักดิ์ ต่างเป็นอิสระไม่ขึ้นแก่กัน และเพื่อชิงความเป็นใหญ่ต่างก็ขอสวามิภักดิ์ต่อเมืองเพื่อนบ้านเช่นไทย พม่า เพื่อขอกำลังมาสยบอาณาจักรลาวด้วยกัน จนถึง พ.ศ. 2322 กองทัพสยามเข้ายึดครองแผ่นดินล้านช้างที่แตกแยกออกเป็น 3 อาณาจักรได้ทั้งหมด ครั้นถึงปี พ.ศ. 2365 เจ้าอนุวงศ์แห่งเวียงจันทน์ทรงวางแผนก่อกบฏเพื่อกอบกู้เอกราช แต่ไม่สำเร็จถูกตัดสินโทษประหารชีวิต กองทัพสยามในรัชกาลที่ 3 ยกมาตีนครเวียงจันทน์ได้รื้อทำลายกำแพงเมือง เอาไฟเผาราบทั้งเมือง
สงครามเจ้าอนุวงศ์ พ.ศ. 2369 อาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์มีพระเจ้าอนุวงศ์เป็นกษัตริย์ ได้รับราชการกับพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยแห่งกรุงสยามมีความชอบมาก จึงประทานเมืองจำปาสักให้เจ้าราชบุตรโย้ ราชโอรสของเจ้าอนุวงศ์ปกครอง ต่อมาเมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยเสด็จสวรรคต พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติเป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลต่อมา เจ้าอนุวงศ์เห็นว่าเป็นช่วงเปลี่ยนแผ่นดินจึงคิดแยกตัวเป็นอิสระไม่ขึ้นกับไทยอีกต่อไป จึงระดมกำลังรวมกับเจ้าราชบุตรโย้ซึ่งครองจำปาสักยกทัพมาตีสยามทางด้านภาคอีสานของไทยในปัจจุบัน พร้อมทั้งแสวงหาพันธมิตรจากหลวงพระบางและหัวเมืองล้านนาแต่ก็ไม่ได้รับการตอบสนอง เนื่องจากหัวเมืองดังกล่าวฝักใฝ่กับฝ่ายไทยมากกว่า เมื่อกองทัพของเจ้าอนุวงศ์ยกทัพมาถึงเมืองนครราชสีมาเห็นจะทำการไม่สำเร็จจึงตัดสินใจเผาเมืองนครราชสีมาทิ้งและกวาดต้อนเชลยตามรายทางกลับไปเวียงจันทน์ ระหว่างทางเชลยที่ถูกกวาดต้อนก็ได้ลุกขึ้นต่อสู้กองทัพลาวที่ทุ่งสำริดจนเสียกำลังทหารลาวส่วนหนึ่งด้วย ด้านฝ่ายไทยซึ่งทราบข่าวค่อนข้างช้าก็ได้ส่งกองทัพภายใต้การนำของกรมพระราชวังบวรมหาศักดิพลเสพย์และเจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ขึ้นมาปราบปราม กองทัพเจ้าอนุวงศ์สู้ไม่ได้จึงแตกพ่าย ตัวเจ้าอนุวงศ์และราชวงศ์เชื้อสายก็ต้องหนีภัยไปพึ่งจักรวรรดิเวียดนาม ฝ่ายสยามจึงยึดกรุงเวียงจันทน์ไว้โดยยังมิได้ทำลายเมืองลงแต่อย่างใด และได้แต่งตั้งกองทหารจำนวนหนึ่งรักษาเมืองไว้เท่านั้น
ในปี พ.ศ. 2371 เจ้าอนุวงศ์ได้กลับมายังกรุงเวียงจันทน์โดยมากับขบวนราชทูตเวียดนามพามาเพื่อขอสวามิภักดิ์สยามอีกครั้ง แต่พอสบโอกาสเจ้าอนุวงศ์จึงนำทหารของตนฆ่าทหารไทยที่รักษาเมืองจนเกือบทั้งหมดและยึดกรุงเวียงจันทน์คืน กองทัพสยามจึงถอนกำลังเพื่อรวบรวมกำลังพลและยกทัพมาปราบปรามเจ้าอนุวงศ์อีกครั้ง ฝ่ายเจ้าอนุวงศ์เมื่อสู้กองทัพไทยไม่ได้จึงไปหลบภัยที่เมืองพวน (แขวงเชียงขวางในปัจจุบัน) แต่เจ้าน้อยเมืองพวนกลับจับตัวเจ้าอนุวงศ์และพระราชวงศ์ที่เหลืออยู่ส่งลงมากรุงเทพ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระพิโรธเจ้าอนุวงศ์มากจึงทรงให้คุมขังเจ้าอนุวงศ์ประจานกลางพระนครจนสิ้นพระชนม์ ส่วนกรุงเวียงจันทน์ก็ทรงมีพระบรมราชโองการให้ทำลายจนไม่เหลือสภาพความเป็นเมือง และตั้งศูนย์กลางการปกครองฝ่ายไทยเพื่อดูแลอาณาเขตของอาณาจักรเวียงจันทน์ที่เมืองหนองคายแทน เมืองเวียงจันทน์ที่ถูกทำลายลงในครั้งนั้นมีเพียงแค่หอพระแก้วและวัดสีสะเกดเท่านั้นที่ยังคงสภาพสมบูรณ์มาจนถึงปัจจุบัน
สงครามเจ้าอนุวงศ์ที่เกิดขึ้นในเวลานั้น ต่อมาได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของความขัดแย้งระหว่างราชอาณาจักรสยามและจักรวรรดิเวียดนาม จนกระทั่งเกิดสงครามที่เรียกว่า “อานามสยามยุทธ” เป็นระยะเวลาถึง 14 ปี เพราะทั้งสองอาณาจักรล้วนต้องการขยายอิทธิพลของตนเข้าไปในดินแดนลาวและเขมร ทั้งสงครามนี้ยังเป็นประวัติศาสตร์บาดแผลระหว่างไทยกับลาวสืบเนื่องต่อมาจนถึงปัจจุบัน
การขยายอำนาจของฝรั่งเศสสู่ลุ่มแม่น้ำโขง ปลายพุทธศตวรรษที่ 24 ต่อช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ 25 ประเทศฝรั่งเศสเริ่มให้ให้ความสนใจที่จะขยายอำนาจเข้ามาสู่ดินแดนในแถบลุ่มแม่น้ำโขง เพื่อหาทางเข้าถึงดินแดนตอนใต้ของจีนเพื่อเปิดตลาดการค้าแห่งใหม่แข่งกับอังกฤษ ซึ่งสามารถยึดพม่าได้ก่อนหน้านั้นแล้ว โดยฝรั่งเศสเริ่มจากการยึดครองแคว้นโคชินจีนหรือเวียดนามใต้ก่อนในปี พ.ศ. 2402 รุกคืบเข้ามาสู่ดินแดนเขมรส่วนนอกซึ่งไทยปกครองในฐานะประเทศราชในปี พ.ศ. 2406 (ไทยตกลงยอมสละอำนาจเหนือเขมรส่วนนอกอย่างเป็นทางการในปี พ.ศ. 2410) จากนั้นจึงได้ขยายดินแดนในเวียดนามต่อจนกระทั่งสามารถยึดเวียดนามได้ทั้งประเทศในปี พ.ศ. 2426 พรมแดนของสยามทางด้านประเทศราชลาวจึงประชิดกับดินแดนอาณานิคมของฝรั่งเศสอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
พ.ศ. 2428 ประเทศจีนได้เกิดเหตุการณ์กบฏไท่ผิงต่อต้านราชวงศ์ชิง กองกำลังกบฏชาวจีนฮ่อที่แตกพ่ายได้ถอยร่นมาตั้งกำลังซ่องสุมผู้คนอยู่ในแถบมณฑลยูนนานของจีน ดินแดนสิบสองจุไทย และตามแนวชายแดนประเทศราชลาวตอนเหนือ กองกำลังจีนฮ่อได้
มารุกรานลาวและตีเมืองต่างๆ ไล่จากทางตอนเหนือไล่มาถึงนครเวียงจันทน์ตอนใต้ ไทย (หรือสยามในเวลานั้น)จึงร่วมกับฝรั่งเศสปราบฮ่อจนสำเร็จ โดยทั้งสองฝ่ายไล่ตีกองกำลังจีนฮ่อจากอาณาเขตของแต่ละฝ่ายให้มาบรรจบกันที่เมืองแถง (เดียนเบียนฟูในปัจจุบัน) แต่ก็เกิดปัญหาใหม่ คือ ฝ่ายฝรั่งเศสฉวยโอกาสอ้างสิทธิปกครองเมืองแถงและสิบสองจุไทย โดยไม่ยอมถอนกำลังทหารออกจากเมืองแถงเพราะอ้างว่าเมืองนี้เคยส่งส่วยให้เวียดนามมาก่อน ปัญหาดังกล่าวนี้มีที่มาจากภาวะการเป็นเมืองสองฝ่ายฟ้า ซึ่งจะส่งส่วยให้แก่รัฐใหญ่ทุกรัฐที่มีอิทธิพลของตนเองเพื่อความอยู่รอด
ดินแดนลาวทั้งหมดก็เปลี่ยนไปตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของ ประเทศฝรั่งเศส จากการใช่เล่ห์เหลี่ยมของโอกุสต์ ปาวี กงสุลฝรั่งเศส โดยการใช้เรือรบมาปิดอ่าวไทยเพื่อบังคับให้ยกดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง รวมทั้งดินแดนอื่น ๆ ลาวถูกรวมเข้าเป็นอินโดจีนของฝรั่งเศส เมื่อ พ.ศ. 2436
ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 กองทัพญี่ปุ่นได้รุกเข้ามาในลาวและดินแดนอินโดจีนฝรั่งเศสอื่นๆ เมื่อญี่ปุ่นใกล้แพ้สงคราม ขบวนการลาวอิสระซึ่งเคลื่อนไหวทางการเมืองเพื่อกู้เอกราชลาวในเวลานั้นประกาศเอกราชให้ประเทศลาวเป็นประเทศ ราชอาณาจักรลาว หลังญี่ปุ่นแพ้สงคราม ฝรั่งเศสก็กลับเข้ามามีอำนาจในอินโดจีนอีกครั้งหนึ่ง ฝรั่งเศสปกครองลาวแต่ละแขวงโดยมีคนฝรั่งเศสเป็นเจ้าแขวงหรือข้าหลวง คอยควบคุมเจ้าเมืองที่เป็นคนลาวอีกต่อหนึ่ง ซึ่งต้องเก็บส่วยตัวเลขจากชายฉกรรจ์ให้ข้าหลวงฝรั่งเศส ตลอดเวลาที่ลาวตกเป็นเมืองขึ้นนั้นฝรั่งเศสไม่รักษาโบราณสถาน โบราณวัตถุ โดยรื้อสร้างเป็นถนนไม่ได้สนใจกับประเทศลาวเท่าไรนัก เพราะถือว่าเป็นดินแดนบ้านป่าล้าหลังไม่มีค่าในเชิงเศรษฐกิจ
ต่อมาในสงครามโลกครั้งที่สอง เยอรมันนีมีชัยเหนือประเทศฝรั่งเศสและก่อตั้งคณะรัฐบาลขึ้นที่เมืองวิซี คณะข้าหลวงฝรั่งเศสในอินโดจีนให้การหนุนหลัง รัฐบาลวิซี และตกลงเป็นพันธมิตรกับญี่ปุ่น ครั้นถึงปี พ.ศ.2484 รัฐบาลใต้ภายใต้การนำของพลตรีหลวงพิบูลสงครามก่อเริ่มดำเนินการต่อต้านอำนาจของฝรั่งเศสที่เริ่มเสื่อมถอย ด้วยการยึดแขวงไชยบุรีและจำปาศักดิ์กลับคืนมา ญี่ปุ่นยุให้ลาวประกาศเอกราช แต่กองทัพฝรั่งเศสก็ย้อนกลับคืนมาอีกครั้งหลังสงครามยุติได้ไม่นาน ลาวหันมาปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช โดยมีรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดภายใต้การควบคุมดูแลของฝรั่งเศส
พ.ศ. 2492 สหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักรฯ ขบวนการลาวอิสระล่มสลาย แนวรักร่วมชาติได้พัฒนาเป็นขบวนการคอมมิวนิสต์ประเทศลาว ในเวลาต่อมาโดยได้รับการสนับสนุนจาโฮจิมินห์และพรรคคอมมิวนิสต์ของเวียตนาม
พ.ศ.2495 ลาวในหัวเมืองด้านตะวันออกเฉียงเหนือเริ่มก่อการจลาจลต่อต้านการปกครองของฝรั่งเศสภายใต้การสนับสนุนจากรัฐบาลกรุงฮานอย เมื่อฝรั่งเศสแพ้สงครามที่ค่ายเดียนเบียนฟู ลาวจึงได้รับเอกราชอย่างสมบูรณ์ ฝรั่งเศสถอนกำลังออกจากประเทศลาว ซึ่งแตกแยกออกเป็น 2 ฝ่าย คือ ฝ่ายสนับสนุนระบบกษัตริย์ในนครเวียงจันทน์ (ฝ่ายขวา) กับฝ่ายขบวนการประเทศลาว (ฝ่ายซ้าย)
พ.ศ. 2500 เจ้าสุวรรณภูมาขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เป็นผู้นำรัฐบาลผสมในนครเวียงจันทน์ 3 ปีต่อมา เวียงจันทน์เริ่มสั่นคลอนเพราะความขัดแย้งระหว่างกลุ่มก่อรัฐประหารและกลุ่มต่อต้านการทำรัฐประหาร ฝ่ายขบวนการประเทศลาวก่อการจลาจลขึ้นในภาคเหนือและภาคตะวันออก
ยุคพระราชอาณาจักรลาวและสงครามกลางเมือง
พ.ศ. 2502 เจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวงศ์เสด็จสวรรคต เจ้าสว่างวัฒนาจึงขึ้นครองราชย์เป็นเจ้ามหาชีวิตแทน เหตุการณ์ในลาวยุ่งยากมาก เจ้าสุภานุวงศ์ 1 ในคณะลาวอิสระประกาศตนว่าเป็นพวกฝ่ายซ้ายนิยมคอมมิวนิสต์ และเป็นหัวหน้าขบวนการปะเทดลาว ได้ออกไปเคลื่อนไหวทางการเมืองในป่า เนื่องจากถูกฝ่ายขวาในลาวคุกคามอย่างหนัก ถึงปี 2504 ร้อยเอกกองแลทำการรัฐประหาร รัฐบาลเจ้าสุวรรณภูมา แต่ถูกกองทัพฝ่ายขวาและฝ่ายซ้ายรุมจนพ่ายแพ้ กองแลต้องลี้ภัยไปสหรัฐจนถึงปัจจุบัน
เหตุการณ์ทางการเมืองในระยะเวลาไม่นานหลังจากนั้นบังคับให้ลาวต้องตกอยู่ท่ามกลางสงครามอินโดจีนครั้งที่สอง ซึ่งรุนแรงยิ่งกว่าครั้งแรก และเป็นปัจจัยก่อให้เกิดสงครามกลางเมืองและรัฐประหารหลายครั้งด้วยกัน จนถึงปี พ.ศ. 2518 พรรคประชาชนปฏิวัติลาวซึ่งได้รับการสนับสนุนจากสหภาพโซเวียต และคอมมิวนิสต์เวียดนามโดยการนำของ เจ้าสุภานุวงศ์ ก็ล้มล้างรัฐบาลประชาธิปไตยโดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขของเจ้ามหาชีวิตสว่างวัฒนา ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลฝรั่งเศสและสหรัฐอเมริกาสำเร็จ จึงนำเจ้ามหาชีวิตและมเหสีไปคุมขังในค่ายกักกันจนสิ้นพระชนม์ และสถาปนาประเทศลาวเป็น “สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว” ในวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2518
ระยะ 5 ปี หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ลาวใช้นโยบายคอมมิวนิสต์ปกครองอย่างเข้มงวด ควบคุมพุทธศาสนา ตัดสัมพันธ์กับประเทศไทย ปราบปรามชนกลุ่มน้อย ราษฎรหลายหมื่นคนถูกจับ ส่งผลให้ปัญญาชนและชนชั้นกลางจำนวนมากหลบหนีออกนอกประเทศ เจ้าสว่างวัฒนาและพระญาติวงศ์สิ้นพระชนม์อยู่ในค่ายกักกัน ชาวบ้านยากจนลง
สมัยสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว สภาพการปกครอง และการบริหารด้านเศรษฐกิจของลาวเริ่มผ่อนคลายมากขึ้นในระยะหลังของทศวรรษ 1980 ต่อมาเมื่อเจ้าสุภานุวงศ์สละตำแหน่งจากประธาน ผู้ดำรงตำแหน่งประธานประเทศต่อ คือ ท่านไกสอน พมวิหาน (พ.ศ. 2535) นายไกสอน พรหมวิหาร ประธานประเทศผู้เชื่อมั่นในระบอบคอมมิวนิสต์ถึงแก่อสัญกรรม นายหนูฮัก พูมสะหวัน ขึ้นดำรงตำแหน่งแทน การจำกัดเสรีภาพค่อยๆ ถูกยกเลิกไป ชาวลาวที่อพยพไปอยู่ต่างประเทศได้รับการเชื้อเชิญให้กลับคืนสู่บ้านเกิดเมืองนอน ลาวเริ่มเปิดประเทศ และฟื้นฟูความสัมพันธ์กับประเทศไทย และเมื่อท่านไกสอนถึงแก่กรรมกระทันหัน ท่าน หนูฮัก พูมสะหวัน ก็ได้ดำรงตำแหน่งประธานประเทศต่อมา ยุคนี้ลาวกับไทยเปิดสะพานมิตรภาพ ไทย – ลาว ในปี พ.ศ. 2538 ต่อมาท่านหนูฮักสละตำแหน่ง ท่านคำไต สีพันดอนรับดำรงตำแหน่งประธานประเทศต่อ จนถึงปี พ.ศ. 2549 ท่านคำไตลงจากตำแหน่ง ท่านจูมมะลี ไซยะสอน จึงเป็นผู้รับตำแหน่งประธานประเทศลาวคนปัจจุบัน
วันอาทิตย์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2558
ประวัติศาสตร์โลกแบ่งเป็นกี่ยุค อะไรบ้าง
ตามหลักสากล ยุคประวัติศาสตร์จะเริ่มนับตรงที่มนุษย์เริ่มมีการจดบันทึกเหตุการณ์อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร ส่วนก่อนหน้านั้นก็จะเรียกว่ายุคก่อนประวัติศาสตร์
ยุคก่อนประวัติศาสตร์ตราบจนถึงทุกวันนี้ก็ยังไม่มีอะไรแน่นอน ยังมีข้อถกเถียงกันอยู่เยอะมาก เพราะมีเพียงแค่หลักฐานทางวัตถุบางชิ้น และก็ไม่ค่อยจะสมบูรณ์เท่าไหร่ด้วย
ส่วนยุคประวัติศาสตร์นั้น ค่อนข้างชัดเจนกว่า แต่ก็ใช่ว่าจะทั้งหมด เพราะเมื่อมีการศึกษาประวัติศาสตร์กันมากขึ้น ก็ทำให้รู้ว่าเราเคยเข้าใจผิดอะไรหลาย ๆ อย่างมานาน และต้องเปลี่ยนความเข้าใจทางประวัติศาสตร์กันใหม่อยู่หลายครั้งก็มี
การแบ่งสมัยในยุคประวัติศาสตร์จะแบ่งโดยใช้เหตุการณ์สำคัญที่ถือเป็นจุดเปลี่ยนของยุคสมัยเป็นตัวแบ่ง ซึ่งมีคนแบ่งเอาไว้หลายแนวทาง เพราะมันไม่มีเส้นแบ่งที่ชัดเจนให้เราเห็น แต่ส่วนใหญ่จะแบ่งออกเป็น
ประวัติศาสตร์สมัยโบราณ (Ancient History) สมัยนี้นักประวัติศาสตร์มักจะรวมเอาเหตุการณ์ในยุคก่อนประวัติศาสตร์เข้าไปด้วย สมัยนี้ส่วนมากมักจะให้สิ้นสุดลงพร้อมกับการล่มสลายของอาณาจักรโรมันตะวันตก ซึ่งเสียให้แก่เยอรมันในปีค.ศ. 476
ประวัติศาสตร์สมัยกลาง (Medieval History) เริ่มเมื่อปีค.ศ. 476 แต่ระยะเวลาสิ้นสุดนั้น บางกลุ่มถือเอาตอนที่กรุงสแตนติโนเปิลตกเป็นของพวกเติร์ก ในปีค.ศ.1453 แต่บางกลุ่มก็ถือว่าสิ้นสุดเมื่อมีการค้นพบทวีปอเมริกา ในปีค.ศ. 1492 และบางกลุ่มก็ถือว่าสิ้นสุดลงพร้อมกับการเริ่มต้นการปฏิรูปต่างๆ ในยุโรป
ประวัติศาสตร์สมัยใหม่ (Modern History) เริ่มตั้งแต่การสิ้นสุดของประวัติศาสตร์สมัยกลางจนถึงปัจจุบัน แต่ก็มีบางกลุ่มที่ถือว่าสมัยนี้สิ้นสุดในราวค.ศ. 1900 และได้แบ่งออกเป็นอีกสมัยหนึ่งคือ ประวัติศาสตร์สมัยปัจจุบัน เริ่มตั้งแต่สิ้นสุดประวัติศาสตร์สมัยใหม่จนถึงปัจจุบัน เพราะระยะช่วงนี้เกิดเหตุการณ์ที่สำคัญ ๆ ขึ้นมากมาย มีรายละเอียดที่มากจนสามารถแบ่งออกเป็นอีกสมัยหนึ่งได้
ส่วนเรื่องของหลักฐานทางประวัติศาตร์นั้น มีการแบ่งหลักฐานทางประวัติศาสตร์ออกเป็น 2 ประเภทคือ หลักฐานที่เป็นวัตถุ (Material Remains) กับหลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษร (Written accounts)
ก่อน 4,000 ปีมาแล้ว หรือในยุคก่อนประวัติศาสตร์ ก็จะมีแต่หลักฐานแบบแรกเพียงอย่างเดียว ก็ต้องใช้การสันนิษฐานประกอบเข้าไปจึงจะมองเห็นสภาพของยุคนั้นได้ ในยุคต่อมาคือยุคประวัติศาสตร์ถึงจะมีหลักฐานแบบที่สอง ซึ่งจะชัดเจนถูกต้องหรือไม่ก็ต้องขึ้นอยู่กับผู้จดบันทึกด้วย
หลักฐานทั้ง 2 ประเภทถ้าเราสามารถหามาประกอบกันได้ก็จะยิ่งทำให้เราสันนิษฐานสภาพทั่วไปและเหตุการณ์ที่เกิดในยุคสมัยนั้นได้ชัดเจนยิ่งขึ้น
ยุคก่อนประวัติศาสตร์
ยุคหิน
ยุคหินเก่า (Paleolithic Age หรือ Old Stone Age)
1. อายุประมาณ 2 ล้านปีก่อนคริสต์ศักราช
2. ดำรงชีพด้วยการล่าสัตว์และเก็บผลไม้ป่า
3. อาศัยตามถ้ำหรือที่พักหยาบๆ
4. พึ่งพาธรรมชาติและไม่เข้าใจปรากฎการณ์ธรรมชาติ
5. รู้จักใช้ไฟ
6. ประกอบพิธีฝังศพอันเป็นจุดเริ่มต้นของศาสนา
7. ภาพจิตรกรรมผนังถ้ำตามความเชื่อและพิธีกรรม
ยุคหินกลาง (Mesolithic Age หรือ Middle Stone Age)
1. อายุประมาณ 8 พันปีก่อนคริสต์ศักราช
2. เริ่มรู้จักเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์แบบง่ายๆ
3. ภาพจิตรกรรมผนังถ้ำมีความซับซ้อนมากขึ้น จุดมุ่งหมายเพื่อพิธีกรรมความเชื่อเรื่องวิญญาณ
4. มีพิธีกรรมเกี่ยวกับพระ
ยุคหินใหม่
1. อายุประมาณ 4 พันปีก่อนคริสต์ศักราช
2. ผลิตอาหารได้เอง รู้จักเก็บกักอาหาร หยุดเร่ร่อน
3. เครื่องมือเครื่องใช้ที่ทำด้วยหินประณีตขึ้น
4. รู้จักการทอผ้า เครื่องปั้นดินเผา ทำเครื่องทุ่นแรง เช่น การเสียดสีให้เกิดไฟ การประดิษฐ์เรือ
5. รวมกลุ่มเกษตรกรรมเป็นหมู่บ้าน มีการจัดระเบียบเพื่อควบคุมสังคม มีหัวหน้าชุมชน
6. อนุสาวรีย์หิน (Stonechenge) ซึ่งถือเป็นการเริ่มต้นงานสถาปัตยกรรมของมนุษย์ เชื่อว่าสร้างเพื่อคำนวณทางดาราศาสตร์ พิธีกรรมทางศาสนาที่เกี่ยว ข้องกับการเกษตรหรือบูชาพระอาทิตย์
ยุค โบราณ
กรีก
กรีก เป็นเชื้อสายอินโด ยูโรเปี้ยน เรียกวัฒนธรรมตนเองว่า เฮเลนนีส (Hellenes) เรียกบ้านเมืองตนเองว่า เฉลลัส (Hellas)
ยุคเฮเลนิค (Hellenic Civilization)
- มีศูนย์กลางอยู่ที่เอเธนส์ มีการปกครองแบบนครรัฐ ศูนย์กลางของนครรัฐอยู่ที่ อะโครโปลิส " มีความเจริญรุ่งเรืองทางการค้ามาก การเดินทางไปค้าขายกับดินอดนต่างๆ ทำให้ชาวกรีกมีโลกทัศน์กว้างขวางและรับวัฒนธรรมจากดินแดนต่างๆ ทำให้ชาวกรีกเป็นคนอยากรู้อยากเห็น เชื่อมั่นในเหตุผล เชื่อในดุลพินิจของตน ส่งผลต่อแนวคิดมนุษย์นิยม (Humanism)
- สนใจในธรรมชาตินิยม (Naturalism) นับถือเทพเจ้าหลายองค์ แต่มีอิสรภาพทางความคิด เพราะศาสนาไม่มีอิทธิพลวิถีเหนือชีวิตของคนในสังคมมากนัก
- แนวคิดประชาธิปไตย มนุษย์ปกครองแบบนครรัฐอิสระ เช่น นครรัฐเอเธนส์ ปกครองแบบประชาธิปไตยทางตรง โดยพลเมืองชายที่เป็นเจ้าของที่ดินและเกิดในนครรัฐจะมีสิทธิในการปกครอง มีสิทธิในการเข้าประชุมสภาราษฎร
อารยธรรมของกรีกซึ่งเป็นรากฐานของอารยธรรมตะวันตกในปัจจุบัน ได้แก่
สถาปัตยกรรม
- เน้นความยิ่งใหญ่ เรียบง่าย กลมกลืน
- ไอโอนิคฅ
- โดรินเซียน
ประติมากรรม
- เป็นการปั้นที่เป็นสัดส่วนและสรีระที่เป็นมนุษย์จริง การเปลือยกายเป็นการแสดงออกถึงความงามของมนุษย์ตามธรรมชาติ เช่น นักขว้างจักร
จิตรกรรม
- จิตรกรรมที่มีชื่อเสียง ได้แก่ การเขียนภาพบนเครื่องปั้นดินเผาลวดลายต่างๆ
วรรณกรรม
- มหากาพย์ลีเลียดและโอเดสซีของโฮมเมอร์
- นิทานอีสปและงานด้านปรัชญาของเพลโต โสเกรตีส อริสโตเติล
ละคร
- ละครสุขนาฏกรรม (Comedy)
- ละครโศกนาฏกรรม (Teagedy)
- การสร้างโรงมหรสพ
ส่วนสมัยพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชนั้นเป็นยุคที่กรีกเผยแพร่วัฒนธรรมของตนไปยังด้านตะวันออก จนสามารถครอบครองอียิปต์ เปอร์เซียจนถึงตอนเหนือของอินเดีย จึงมีการผสมผสานศิลปะกรีกกับศิลปะตะวันออก ทำให้เป็นศิลปะที่เน้นความงดงามแบบหรูหราอลังการ แสดงถึงอารมณ์อย่างรุนแรง
สมัยกลาง
เริ่มตั้งแต่อาณาจักรโรมันล่มสลายในปี ค.ศ.476 ศตวรรษที่ 5-15 เนื่องจากการรุกรานของอนารยชนเผ่าติวตัน อำนาจทางการเมืองกระจัดกระจาย ความวุ่นวายทางการเมืองทำให้ผู้คนหันมายึดศาสนาเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวทางจิตใจ และให้ความหวังกับคนในสังคมว่าจะได้ไปเสวยสุขกับพระเจ้าบนสวรรค์หรือมุ่งหวังชีวิตที่ดีกว่าในโลกหน้า
คริสต์ศตวรรษที่ 14 ยุโรปมีความตื่นตัวทางด้านการพานิชย์ และแสวงหาดินแดนในโลกอันนำมาซึ่งลัทธิการล่าอาณานิคม ส่วนในทางวิทยาศาสตร์และการประดิษฐ์ มีการค้นพบระบบสุริยจักรวาลของโคเปอร์นิคัส
การค้นพบกระบวนการพิมพ์หนังสือของกูเตนเบอร์กและฟุสท์
ลักษณะสังคม เป็นสังคมในลัทธิฟิวดัล ซึ่งคนในสังคมมีความสัมพันธ์ในฐานะเจ้าของที่ดินและทาสติดที่ดิน แบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ
1. พระ เป็นผู้มีบทบาทมาก เพราะเป็นศูนย์ของความเชื่อ ความศรัทธาในศาสนาของประชาชน พระสันตปาปาที่กรุงโรมมีอำนาจสูงสุด พระที่มีฐานะรองลง
มาก็จะทำหน้าที่ต่างๆ ตามขอบเขตการปกครอง เช่น สั่งสอนประชาชน เก็บภาษีอากร ฯลฯ
2. ชนชั้นปกครอง ได้แก่ กษัตริย์ ขุนนาง และอัศวิน ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดิน มีชีวิตหรูหราฟุ่มเฟือย
3. สามัญชน ได้แก่ ชาวนาและทาสติดที่ดิน ที่ต้องทำงานหนักหาเลี้ยงชีพภายใต้อำนาจสิทธิ์ขาดและการคุ้มครองจากเจ้าของที่ดิน ไม่ค่อยมีการปรับปรุงที่ดินเพื่อการเกษตร ผลผลิตไม่พอเพียงกับความต้องการของชุมชน
วรรณกรรม
สมัยกลางช่วงต้น จะเน้นวรรณกรรมศาสนาหรือวรรณกรรมสะท้อนภาพสังคมฟิวดัล เช่น The City Of God
สมัยกลางช่วงปลาย เน้นวรรณกรรมทางโลกมากขึ้น เช่น The Divine Comedy
การศึกษา เน้นด้านเทววิทยาและขยายการศึกษาไปสู่การจัดตั้งมหาวิทยาลัย
อิทธิพลศิลปะมุสลิม
- จิตรกรรม ได้แก่ งานเขียนลวดลายเรขาคณิต ลวดลายดอกไม้
- หัตถกรรม ได้แก่ เครื่องปั้นดินเผา เครื่องโลหะ เครื่องทองเหลือง
- วรรณกรรม ได้แก่ นิทานอาหรับราตรี รุไบยาดของโอมาร์ คัยยัม
ศิลปะไบเซนไทน์ ( Bizentine ) การสร้างสรรค์เพื่อพระผู้ไถ่บาปให้แก่มวลมนุษย์ ( ค.ศ.330-1453 )
โบสถ์เซนต์โซเฟีย ( ค.ศ.532-537 )
ในเมืองฮาร์บิน เมืองหลวงของมณฑลเฮอหลงเจียง เป็นสถาปัตยกรรมแห่งการผสมผสาน นับเป็นรวมลักษณะความโดดเด่นของกรีก โรมัน และลักษณะตะวันออก แบบอาหรับหรือเปอร์เซีย ไว้ในผลงานชิ้นเดียวกันได้อย่ากลมกลืน
ศิลปะโกธิค
- เกิดขึ้นในยุโรประหว่างกลางศตวรรษที่ 12 ปลายศตวรรษที่ 15 เป็นศิลปะที่มีความอ่อนโยนคล้ายธรรมชาติและเป็นมนุษย์นิยม มีอิสระในการแสดงออก เป็นศิลปะที่หลุดพ้นจากอิทธิพลของกรีก โรมัน แต่ก็ชี้ให้เห็นถึงความเชื่อและความศรัทธาในศาสนาคริสต์
- ต่างจากศิลปะไบแซนไทน์ ซึ่งเคร่งครัดในกฎเกณฑ์
- จุดเด่นของศิลปะโกธิค ส่วนใหญ่เป็นวิหารทางศาสนาคริสต์ ดัดแปลงจากสมัยโรมาเนสก์ คือ ประตู เพดานและหลังคาโค้งปลายแหลม ทำให้อาคารดูสง่างาม ภายในตัวอาคารจะประดับประดาด้วยกระจกสี ซึ่งเป็นงานยิ่งใหญ่ของ
วิหารแรงส์ ( ค.ศ.1211-1290 )
เป็นช่วงเวลาแห่งความรุ่งเรืองและเป็นวิหารที่เป็นความภาคภูมิใจของชาวฝรั่งเศส
- เกิดขึ้นในยุโรประหว่างกลางศตวรรษที่ 12 ปลายศตวรรษที่ 15 เป็นศิลปะที่มีความอ่อนโยนคล้ายธรรมชาติและเป็นมนุษย์นิยม มีอิสระในการแสดงออก เป็นศิลปะที่หลุดพ้นจากอิทธิพลของกรีก โรมัน แต่ก็ชี้ให้เห็นถึงความเชื่อและความศรัทธาในศาสนาคริสต์
- ต่างจากศิลปะไบแซนไทน์ ซึ่งเคร่งครัดในกฎเกณฑ์
- จุดเด่นของศิลปะโกธิค ส่วนใหญ่เป็นวิหารทางศาสนาคริสต์ ดัดแปลงจากสมัยโรมาเนสก์ คือ ประตู เพดานและหลังคาโค้งปลายแหลม ทำให้อาคารดูสง่างาม ภายในตัวอาคารจะประดับประดาด้วยกระจกสี ซึ่งเป็นงานยิ่งใหญ่ของศิลปะโกธิค
ศิลปะสมัยกลาง
ศิลปะยุคฟื้นฟูศิลปะและวิทยาการ ( Renaissance )
โบสถ์เซนต์ปีเตอร์ ( ค.ศ.1506-1546 )
เป็นสิ่งก่อสร้างทางสถาปัตยกรรมที่เป็นตัวแทนแห่งยุคสมัยและได้รับการยอมรับว่ามีคุณค่าทางศิลปะ ผู้ออกแบบและเริ่มดำเนินการสร้าง คือ บรามานเต ( ค.ศ.1506 ) แต่เขาถึงแก่กรมมก่อนงานจะเสร็จ จึงเป็นภาระหน้าที่ของสถาปนิกอีกหลายคน จนกระทั่ง ค.ศ.1546 มิเคลันเจโลก็ได้รับการติดต่อจากสันตะปาปาจอห์นปอลที่ 3 ให้เป็นสถาปนิกรับผิดชอบออกแบบก่อสร้างต่อไป โดยเฉพาะอาคารที่อยู่ตรงกลาง มิเคลันเจโลได้แรงบันดาลใจมาจากวิหารแพนธีออนของจักวรรดิโรมัน
ภาพโมนาลิซา ( ค.ศ.1503-1505 )
เป็นภาพเขียนสีน้ำมันบนผ้า แสดงให้เห็นถึงความสามารถในการถ่ายทอดแบบเลียนแบบธรรมชาติ การนำธรรมชาติมาเป็นฉากหลังและสร้างมิติใกล้ไกลแบบวิทยาศาสตร์การเห็น ( ทัศนียภาพ หรือ Perspective )
เลโอนาร์โด ดา วินชี เป็นผู้ริเริ่มการเขียนภาพแบบแสดงค่าตัดกันระหว่างความมืดกับความสว่างที่เรียกว่า คิอารอสกูโร ( Chiaroscuro )
ดาวิด ( ค.ศ.1501-1504 )
เป็นรูปสลักหินอ่อน มีความสูงถึง 13 ฟุต 5 นิ้ว เป็นการถ่ายทอดรูปแบบที่มีกรีกและโรมันเป็นแนวทางจึงทำให้รูปดาวิดมีลักษณะทางกายภาพสอคล้องกับอุดมคติของกรีกและโรมันที่เน้นความสมบูรณ์ทางสรีระ
- เป็นยุคสมัยที่มีคุณค่ายิ่งต่อวิวัฒนาการทางจิตรกรรมของโลก คือ ความมีอิสระในการสร้างสรรค์ศิลปะของมนุษย์ ความมีลักษณะเฉพาะตัวของศิลปิน กล้าที่จะคิดและแสดงออกตามแนวความคิดที่ตนเองชอบและต้องการแสวงหา
- งานจิตรกรรมมีความตื่นตัวและเจริญก้าวหน้าทางเทคนิควิธีการเป็นอย่างมาก ได้มีการคิดค้นการเขียนภาพลายเส้นทัศนียภาพ ( Linear Perspective ) ซึ่งนำไปสู่การเขียนภาพทิวทัศน์ที่งดงาม
- ศิลปินได้พยายามศึกษากายวิภาคด้วยการผ่าตัดศพ พร้อมฝึกวาดเส้นสรีระและร่างกายมนุษย์อย่างละเอียด
- ความเจริญก้าวหน้าในงานจิตรกรรมสีน้ำมันประสบความสำเร็จอย่างสูงในยุคนี้ด้วย
ศิลปะสมัยกลาง
ศิลปะบาโรก ( Baroque ) ค.ศ.1580-1750
พระราชวังแวร์ซาย (ค.ศ.1661-1691)
สร้างขึ้นด้วยหินอ่อน ในสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ของฝรั่งเศส ใช้เงินประมาณ 500 ล้านฟรังส์ จุคนได้ประมาณ 10,000 คน เพื่อประกาศให้นานาประเทศเห็นถึงอำนาจและบารมีของพระองค์
- เป็นยุคที่มีการสร้างสรรค์งานศิลปะเพื่อการแสดงออกที่เรียกร้องความสนใจมากเกินไป มุ่งหวังความสะดุดตาราวกับจะกวักมือเรียกผู้คนให้มาสนใจศาสนา การประดับตกแต่งมีลักษณะฟุ้งเฟ้อเกินความพอดี
ศิลปะสมัยกลาง
ศิลปะโรโคโค ( Rococo ) ค.ศ.1700-1789
- เป็นผลงานศิลปะที่สะท้อนความโอ่อ่า หรูหรา ประดับประดาตกแต่งที่วิจิตร ละเอียดลออ ส่งเสริมความรื่นเริงยินดี ความรัก กามารมณ์
ศิลปะคลาสสิกใหม่ ( Neoclassic ) ค.ศ.1780-1840
- เป็นลัทธิทางศาสนาที่เก่าแก่ที่สุด ได้ฟื้นฟูศิลปะคลาสสิกอันงดงามของกรีกและโรมันกลับมาสร้างใหม่ในปรัชญาที่ว่า ศิลปะ คือ ดวงประทีปของเหตุผล โดยเน้นความประณีต ละเอียดอ่อน นุ่มนวล และเหมือนจริงด้วยสัดส่วนและแสงเงา
- เป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อของศิลปะสมัยกลางและศิลปะสมัยใหม่ มีผลต่อการคิดค้นสร้างสรรค์ศิลปะอย่างกว้างขวางในเวลาต่อมา
สมัยใหม่
สาเหตุของการเปลี่ยนแปลง
1. ด้านเศรษฐกิจ เกิดการตื่นตัวทางการค้า มีการสำรวจดินแดนใหม่ๆ (Age of Discovery)
2. กำเนิดชนชั้นกลาง คือ พ่อค้าและปัญญาชน ความเสื่อมของระบบฟิวดัล พระและขุนนางถูกลด
บทบาท
3. การปกครองเปลี่ยนไปสู่ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ เกิดแนวคิดความเป็นรัฐชาติ
4. การปฏิวัติวิทยาศาสตร์ เรียกยุคนี้ว่า Age of Reason และ Age of Enlightenment
5. การปฏิรูปศาสนา เกิดนิกายโปรเตสแตนท์ โดย มาร์ติน ลูเธอร์
วรรณกรรม มีการใช้ภาษาถิ่นแทนภาษาละติน
ศิลปะสมัยใหม่ ( Modern Art )
1. ศิลปะจินตนิยม ( Romanticism ) ค.ศ.1800-1900
- ก่อเกิดในอังกฤษและฝรั่งเศสช่วงระยะเวลาที่ใกล้เคียงกัน มีทรรศนะคติที่ต้องการความเป็นอิสระในการแสดงออกที่ศิลปินต้องการมากกว่าการเดินตามกฎเกณฑ์และแบบแผนทางศิลปะ ดังที่ศิลปินลัทธิคลาสสิกใหม่ยังยึดถืออยู่
- เป็นศิลปะที่เน้นอารมณ์อยู่เหนือเหตุผล มุ่งสร้างสรรค์งานที่ตื่นเต้น เร้าใจ ก่อให้เกิดอารมณ์สะเทือนใจ
แก่ผู้ชม
2. ศิลปะสัจนิยม ( Realisticism ) กลางคริสต์ศตวรรษที่ 19
- ศิลปินในยุคนี้ได้แก่ กุสตาฟ คูร์เบท์ , ฌอง ฟรังซัวส์ มิล์เลท์
3. ศิลปะลัทธิประทับใจ ( Impressionism ) ศิลปะแห่งความงดงามของประกายแสงและสี
- แสดงภาพทิวทัศน์บก ทะเล ริมฝั่ง เมืองและชีวิตประจำวันที่รื่นรมย์ เช่น การสังสรรค์ บัลเลต์ การ
แข่งม้า สโมสร นิยมเขียนภาพนอกห้องปฏิบัติงาน
- พยายามแสดงคุณสมบัติของแสงสี อันเป็นผลมาจากความรู้เกี่ยวกับแสงจากสเปกตรัมและสี ซึ่งเป็น
ผลผลิตจากความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์
- ศิลปินในยุคนี้ ได้แก่ มาเนท์ , โคลด โมเนท์ , เรอนัวร์ , เดอกาส์ , โรแดง , รอสโซ
4. ศิลปะลัทธิประทับใจใหม่ ( Neo-Impressionism ) สีจากแสงสเปกตรัมมาสู่อนุภาค
- เกิดเทคนิคการระบายสีเป็นสีจากจุด ซึ่งเป็นผลมาจากความเชื่อทางฟิสิกส์ว่า แสง คือ อนุภาค โดย
การระบายสีให้เกิดริ้วรอยพู่กันเล็กๆด้วยสีสดใส จุดสีเล็กๆนี้จะผสานกันในสายตาของผู้ชม มากกว่า
การผสมสีอันเกิดจากการผสมบนจานสี
- ศิลปินคนสำคัญ ได้แก่ จอร์จส์ เซอราท์ , คามิลล์ พีส์ซาร์โร , พอล ซิบัค
5. ศิลปะลัทธิประทับใจยุคหลัง ( Post-Impressionism )
6. ศิลปะลัทธิบาศกนิยม ( Cubism ) ค.ศ.1907-1910
7. ศิลปะลัทธิเหนือจริง ( Surrealism ) ศิลปกรรมที่เปิดเผยความฝันและจิตใต้สำนึก
8. ศิลปะลัทธินามธรรม ( Abstractionism ) ศิลปะไร้รูปลักษณ์
พัฒนาการของมนุษย์ยุคใหม่
ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ โดยเฉพาะดาราศาสตร์ ในคริสต์ศตวรรษที่ 15 เป็นผลให้นักเดินเรือสามารถเดินทางและกำหนดเป้าหมายได้อย่างมีระบบ ขยายการค้าและการติดต่อระหว่างตะวันออกกับตะวันตกได้
สาเหตุการสำรวจทางทะเล
1. ความก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์ และความรู้ด้านภูมิศาสตร์ แผนที่ของปิโตเลมี
2. การใช้เข็มทิศและความก้าวหน้าในการต่อเรือเดินสมุทร อย่างมีประสิทธิภาพ
3. ความต้องการสินค้าและวัตถุดิบจากโลกตะวันออก
โปรตุเกสเป็นชาติแรกที่เป็นผู้นำในการเดินเรือ นักสำรวจที่สำคัญ ได้แก่
1. นาโธโลนิว ไดแอส สามารถเดินเรือเลียบทวีแอฟริกา อ้อมแหลมกู๊ดโฮป
2. วาสโกดา กามา เดินเรือมาทวีปเอเซีย ขึ้นฝั่งที่ประเทศอินเดีย
3. คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส ชาวอิตาลีค้นพบทวีปอเมริกา
4. เฟอร์ดินันด์ แมกเจลแลน นักแสวงโชคผู้สามารถเดินเรือรอบโลกได้เป็นผู้สำเร็จคนแรก
ความก้าวหน้าวิทยาศาสตร์สาขาอื่นนอกจากดาราศาสตร์
1. ทอร์ริเซลลี นักวิทยาศาสตร์ชาวอิตาลี ประดิษฐ์บารอมิเตอร์เพื่อใช้วัดความกดดันของบรรยากาศ
2. เกอร์ริก ชาวเยอรมันพิสูจน์ว่าอากาศมีความดกดัน
3. เซอร์ ไอแซค นิวตัน นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษที่ศึกษาเรื่องการหักเหของแสง และแรงดึงดูดของ
โลก
4. พาราเซลซัส ชาวสวิตเซอร์แลนด์ ได้ศึกษาเกี่ยวกับธาตุที่ใช้ในการรักษาโรค
5. โรเบิร์ต บอยล์ นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ ศึกษาวิธีเตรียมฟอสฟอรัสจากน้ำปัสสาวะกับกระดูก และ
ให้คำจำกัดความของ "ธาตุ" คือ สารที่จะไม่มีการแปรให้เป็นสิ่งอื่นได้เลย
6. โรเบิร์ต ฮุค ได้ตั้ง "กฎของบอยล์" ว่า อากาศหรือก๊าซเมื่อถูกความร้อนจะขยายตัว และถ้าอุณหภูมิมี
ค่าคงที่แล้ว ก๊าซจะมีปริมาณน้อยมากตามปฏิภาคอย่างกลับกับความกดดันของก๊าซนั้น ๆ และศึกษา
ว่าแสงเป็นคลื่นได้
7. เจมส์ วัตต์ นักประดิษฐ์ชาวสก็อตแลนด์ที่ได้เห็นเครื่องสูบน้ำของนิวโคเมนและได้นำมาพัฒนาเป็น
เครื่องจักรกล ทำให้การปฏิวัติอุตสาหกรรมพัฒนาได้เร็วขึ้น
กระบวนการเปลี่ยนแปลงในยุคใหม่
การปฏิวัติวิทยาศาสตร์
หมายถึง วิธีการทางวิทยาศาสตร์ ได้แก่ การสังเกต การตรวจสอบ และการทดลองอย่างมีหลักการและมีเหตุผล เกิดขึ้นในศตวรรษที่ 16 - 18
นักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญ ได้แก่
1. กาลิเลโอ ใช้กล้องโทรทรรศน์ยืนยันความถูกต้องของระบบสุริยจักรวาล
2. เซอร์ ไอแซค นิวตัน ค้นพบกฎการโน้มถ่วง แรงดึงดูดของโลก
3. โยฮันเนส เคปเลอร์ ค้นพบวงโคจรของดาวเคราะห์เป็นวงรีไม่ใช่วงกลม
4. เรอเน เดสการ์ต บิดาแห่งเรขาคณิตวิเคราะห์สมัยใหม่
5. ปิโตรเลมี ศึกษาโลกเป็นศูนย์กลางของจักรวาล
การปฏิวัติอุตสาหกรรมและผลในด้านต่าง ๆ
การปฏิวัติอุตสาหกรรม หมายถึง การเปลี่ยนแปลงกระบวนการผลิต จากการใช้แรงงานคนและสัตว์มาเป็นการใช้เครื่องจักรแทน หรือเปลี่ยนจากการผลิตในครัวเรือนเป็นการผลิตระบบโรงงาน ซึ่งเกิดขึ้นในช่วงศตวรรษที่ 18
ระยะของการปฏิวัติอุตสาหกรรม
การปฏิวัติอุตสาหกรรมระยะแรก เป็นการใช้พลังไอน้ำในการขับเคลื่อนเครื่องจักรในอุตสาหกรรมทอผ้า และต่อมามีการใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิง ประเทศอังกฤษเป็น
ผู้นำอุตสาหกรรมประเทศแรกในการปฏิวัติอุตสาหกรรม
การปฏิวัติอุตสาหกรรมระยะที่สอง เป็นช่วงที่มีการใช้พลังงานไฟฟ้า ก๊าซ และน้ำมันมาใช้แทนถ่านหินหรือเป็นการปฏิวัติอุตสาหกรรมเหล็กกล้า มีกระบวนการผลิตแยกส่วนแล้วนำมาประกอบกัน มีโรงงานขนาดใหญ่ขึ้น มีจำนวนคนทำงานในเมืองมากขึ้น เกิดเป็นสังคมเมืองขนาดใหญ่
การปฏิวัติอุตสาหกรรมระยะที่สาม เป็นสมัยเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ มีการประดิษฐ์เครื่องจักรไดนาโมของไมเคิล ฟาราเดย์ เช่น ภาพยนตร์ โทรเลข โทรศัพท์ การพิมพ์
สาเหตุที่อังกฤษเป็นผู้นำในการปฏิวัติอุตสาหกรรม
1. มีระบบการเงินที่มั่นคง
2. มีวัตถุดิบที่จำเป็นต่ออุตสาหกรรม ได้แก่ เหล็ก ถ่านหิน
3. มีประชากรเพิ่มขึ้นจากการปฏิวัติเกษตรกรรมทำให้มีแรงงานเพิ่มมากขึ้น
4. มีความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
5. มีตลาดการค้ากว้างขวางเนื่องจากมีการล่าอาณานิคมมากขึ้น
6. มีการคมนาคมขนส่งสะดวก
ยุคก่อนประวัติศาสตร์ตราบจนถึงทุกวันนี้ก็ยังไม่มีอะไรแน่นอน ยังมีข้อถกเถียงกันอยู่เยอะมาก เพราะมีเพียงแค่หลักฐานทางวัตถุบางชิ้น และก็ไม่ค่อยจะสมบูรณ์เท่าไหร่ด้วย
ส่วนยุคประวัติศาสตร์นั้น ค่อนข้างชัดเจนกว่า แต่ก็ใช่ว่าจะทั้งหมด เพราะเมื่อมีการศึกษาประวัติศาสตร์กันมากขึ้น ก็ทำให้รู้ว่าเราเคยเข้าใจผิดอะไรหลาย ๆ อย่างมานาน และต้องเปลี่ยนความเข้าใจทางประวัติศาสตร์กันใหม่อยู่หลายครั้งก็มี
การแบ่งสมัยในยุคประวัติศาสตร์จะแบ่งโดยใช้เหตุการณ์สำคัญที่ถือเป็นจุดเปลี่ยนของยุคสมัยเป็นตัวแบ่ง ซึ่งมีคนแบ่งเอาไว้หลายแนวทาง เพราะมันไม่มีเส้นแบ่งที่ชัดเจนให้เราเห็น แต่ส่วนใหญ่จะแบ่งออกเป็น
ประวัติศาสตร์สมัยโบราณ (Ancient History) สมัยนี้นักประวัติศาสตร์มักจะรวมเอาเหตุการณ์ในยุคก่อนประวัติศาสตร์เข้าไปด้วย สมัยนี้ส่วนมากมักจะให้สิ้นสุดลงพร้อมกับการล่มสลายของอาณาจักรโรมันตะวันตก ซึ่งเสียให้แก่เยอรมันในปีค.ศ. 476
ประวัติศาสตร์สมัยกลาง (Medieval History) เริ่มเมื่อปีค.ศ. 476 แต่ระยะเวลาสิ้นสุดนั้น บางกลุ่มถือเอาตอนที่กรุงสแตนติโนเปิลตกเป็นของพวกเติร์ก ในปีค.ศ.1453 แต่บางกลุ่มก็ถือว่าสิ้นสุดเมื่อมีการค้นพบทวีปอเมริกา ในปีค.ศ. 1492 และบางกลุ่มก็ถือว่าสิ้นสุดลงพร้อมกับการเริ่มต้นการปฏิรูปต่างๆ ในยุโรป
ประวัติศาสตร์สมัยใหม่ (Modern History) เริ่มตั้งแต่การสิ้นสุดของประวัติศาสตร์สมัยกลางจนถึงปัจจุบัน แต่ก็มีบางกลุ่มที่ถือว่าสมัยนี้สิ้นสุดในราวค.ศ. 1900 และได้แบ่งออกเป็นอีกสมัยหนึ่งคือ ประวัติศาสตร์สมัยปัจจุบัน เริ่มตั้งแต่สิ้นสุดประวัติศาสตร์สมัยใหม่จนถึงปัจจุบัน เพราะระยะช่วงนี้เกิดเหตุการณ์ที่สำคัญ ๆ ขึ้นมากมาย มีรายละเอียดที่มากจนสามารถแบ่งออกเป็นอีกสมัยหนึ่งได้
ส่วนเรื่องของหลักฐานทางประวัติศาตร์นั้น มีการแบ่งหลักฐานทางประวัติศาสตร์ออกเป็น 2 ประเภทคือ หลักฐานที่เป็นวัตถุ (Material Remains) กับหลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษร (Written accounts)
ก่อน 4,000 ปีมาแล้ว หรือในยุคก่อนประวัติศาสตร์ ก็จะมีแต่หลักฐานแบบแรกเพียงอย่างเดียว ก็ต้องใช้การสันนิษฐานประกอบเข้าไปจึงจะมองเห็นสภาพของยุคนั้นได้ ในยุคต่อมาคือยุคประวัติศาสตร์ถึงจะมีหลักฐานแบบที่สอง ซึ่งจะชัดเจนถูกต้องหรือไม่ก็ต้องขึ้นอยู่กับผู้จดบันทึกด้วย
หลักฐานทั้ง 2 ประเภทถ้าเราสามารถหามาประกอบกันได้ก็จะยิ่งทำให้เราสันนิษฐานสภาพทั่วไปและเหตุการณ์ที่เกิดในยุคสมัยนั้นได้ชัดเจนยิ่งขึ้น
ยุคก่อนประวัติศาสตร์
ยุคหิน
ยุคหินเก่า (Paleolithic Age หรือ Old Stone Age)
1. อายุประมาณ 2 ล้านปีก่อนคริสต์ศักราช
2. ดำรงชีพด้วยการล่าสัตว์และเก็บผลไม้ป่า
3. อาศัยตามถ้ำหรือที่พักหยาบๆ
4. พึ่งพาธรรมชาติและไม่เข้าใจปรากฎการณ์ธรรมชาติ
5. รู้จักใช้ไฟ
6. ประกอบพิธีฝังศพอันเป็นจุดเริ่มต้นของศาสนา
7. ภาพจิตรกรรมผนังถ้ำตามความเชื่อและพิธีกรรม
ยุคหินกลาง (Mesolithic Age หรือ Middle Stone Age)
1. อายุประมาณ 8 พันปีก่อนคริสต์ศักราช
2. เริ่มรู้จักเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์แบบง่ายๆ
3. ภาพจิตรกรรมผนังถ้ำมีความซับซ้อนมากขึ้น จุดมุ่งหมายเพื่อพิธีกรรมความเชื่อเรื่องวิญญาณ
4. มีพิธีกรรมเกี่ยวกับพระ
ยุคหินใหม่
1. อายุประมาณ 4 พันปีก่อนคริสต์ศักราช
2. ผลิตอาหารได้เอง รู้จักเก็บกักอาหาร หยุดเร่ร่อน
3. เครื่องมือเครื่องใช้ที่ทำด้วยหินประณีตขึ้น
4. รู้จักการทอผ้า เครื่องปั้นดินเผา ทำเครื่องทุ่นแรง เช่น การเสียดสีให้เกิดไฟ การประดิษฐ์เรือ
5. รวมกลุ่มเกษตรกรรมเป็นหมู่บ้าน มีการจัดระเบียบเพื่อควบคุมสังคม มีหัวหน้าชุมชน
6. อนุสาวรีย์หิน (Stonechenge) ซึ่งถือเป็นการเริ่มต้นงานสถาปัตยกรรมของมนุษย์ เชื่อว่าสร้างเพื่อคำนวณทางดาราศาสตร์ พิธีกรรมทางศาสนาที่เกี่ยว ข้องกับการเกษตรหรือบูชาพระอาทิตย์
ยุค โบราณ
กรีก
กรีก เป็นเชื้อสายอินโด ยูโรเปี้ยน เรียกวัฒนธรรมตนเองว่า เฮเลนนีส (Hellenes) เรียกบ้านเมืองตนเองว่า เฉลลัส (Hellas)
ยุคเฮเลนิค (Hellenic Civilization)
- มีศูนย์กลางอยู่ที่เอเธนส์ มีการปกครองแบบนครรัฐ ศูนย์กลางของนครรัฐอยู่ที่ อะโครโปลิส " มีความเจริญรุ่งเรืองทางการค้ามาก การเดินทางไปค้าขายกับดินอดนต่างๆ ทำให้ชาวกรีกมีโลกทัศน์กว้างขวางและรับวัฒนธรรมจากดินแดนต่างๆ ทำให้ชาวกรีกเป็นคนอยากรู้อยากเห็น เชื่อมั่นในเหตุผล เชื่อในดุลพินิจของตน ส่งผลต่อแนวคิดมนุษย์นิยม (Humanism)
- สนใจในธรรมชาตินิยม (Naturalism) นับถือเทพเจ้าหลายองค์ แต่มีอิสรภาพทางความคิด เพราะศาสนาไม่มีอิทธิพลวิถีเหนือชีวิตของคนในสังคมมากนัก
- แนวคิดประชาธิปไตย มนุษย์ปกครองแบบนครรัฐอิสระ เช่น นครรัฐเอเธนส์ ปกครองแบบประชาธิปไตยทางตรง โดยพลเมืองชายที่เป็นเจ้าของที่ดินและเกิดในนครรัฐจะมีสิทธิในการปกครอง มีสิทธิในการเข้าประชุมสภาราษฎร
อารยธรรมของกรีกซึ่งเป็นรากฐานของอารยธรรมตะวันตกในปัจจุบัน ได้แก่
สถาปัตยกรรม
- เน้นความยิ่งใหญ่ เรียบง่าย กลมกลืน
- ไอโอนิคฅ
- โดรินเซียน
ประติมากรรม
- เป็นการปั้นที่เป็นสัดส่วนและสรีระที่เป็นมนุษย์จริง การเปลือยกายเป็นการแสดงออกถึงความงามของมนุษย์ตามธรรมชาติ เช่น นักขว้างจักร
จิตรกรรม
- จิตรกรรมที่มีชื่อเสียง ได้แก่ การเขียนภาพบนเครื่องปั้นดินเผาลวดลายต่างๆ
วรรณกรรม
- มหากาพย์ลีเลียดและโอเดสซีของโฮมเมอร์
- นิทานอีสปและงานด้านปรัชญาของเพลโต โสเกรตีส อริสโตเติล
ละคร
- ละครสุขนาฏกรรม (Comedy)
- ละครโศกนาฏกรรม (Teagedy)
- การสร้างโรงมหรสพ
ส่วนสมัยพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชนั้นเป็นยุคที่กรีกเผยแพร่วัฒนธรรมของตนไปยังด้านตะวันออก จนสามารถครอบครองอียิปต์ เปอร์เซียจนถึงตอนเหนือของอินเดีย จึงมีการผสมผสานศิลปะกรีกกับศิลปะตะวันออก ทำให้เป็นศิลปะที่เน้นความงดงามแบบหรูหราอลังการ แสดงถึงอารมณ์อย่างรุนแรง
สมัยกลาง
เริ่มตั้งแต่อาณาจักรโรมันล่มสลายในปี ค.ศ.476 ศตวรรษที่ 5-15 เนื่องจากการรุกรานของอนารยชนเผ่าติวตัน อำนาจทางการเมืองกระจัดกระจาย ความวุ่นวายทางการเมืองทำให้ผู้คนหันมายึดศาสนาเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวทางจิตใจ และให้ความหวังกับคนในสังคมว่าจะได้ไปเสวยสุขกับพระเจ้าบนสวรรค์หรือมุ่งหวังชีวิตที่ดีกว่าในโลกหน้า
คริสต์ศตวรรษที่ 14 ยุโรปมีความตื่นตัวทางด้านการพานิชย์ และแสวงหาดินแดนในโลกอันนำมาซึ่งลัทธิการล่าอาณานิคม ส่วนในทางวิทยาศาสตร์และการประดิษฐ์ มีการค้นพบระบบสุริยจักรวาลของโคเปอร์นิคัส
การค้นพบกระบวนการพิมพ์หนังสือของกูเตนเบอร์กและฟุสท์
ลักษณะสังคม เป็นสังคมในลัทธิฟิวดัล ซึ่งคนในสังคมมีความสัมพันธ์ในฐานะเจ้าของที่ดินและทาสติดที่ดิน แบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ
1. พระ เป็นผู้มีบทบาทมาก เพราะเป็นศูนย์ของความเชื่อ ความศรัทธาในศาสนาของประชาชน พระสันตปาปาที่กรุงโรมมีอำนาจสูงสุด พระที่มีฐานะรองลง
มาก็จะทำหน้าที่ต่างๆ ตามขอบเขตการปกครอง เช่น สั่งสอนประชาชน เก็บภาษีอากร ฯลฯ
2. ชนชั้นปกครอง ได้แก่ กษัตริย์ ขุนนาง และอัศวิน ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดิน มีชีวิตหรูหราฟุ่มเฟือย
3. สามัญชน ได้แก่ ชาวนาและทาสติดที่ดิน ที่ต้องทำงานหนักหาเลี้ยงชีพภายใต้อำนาจสิทธิ์ขาดและการคุ้มครองจากเจ้าของที่ดิน ไม่ค่อยมีการปรับปรุงที่ดินเพื่อการเกษตร ผลผลิตไม่พอเพียงกับความต้องการของชุมชน
วรรณกรรม
สมัยกลางช่วงต้น จะเน้นวรรณกรรมศาสนาหรือวรรณกรรมสะท้อนภาพสังคมฟิวดัล เช่น The City Of God
สมัยกลางช่วงปลาย เน้นวรรณกรรมทางโลกมากขึ้น เช่น The Divine Comedy
การศึกษา เน้นด้านเทววิทยาและขยายการศึกษาไปสู่การจัดตั้งมหาวิทยาลัย
อิทธิพลศิลปะมุสลิม
- จิตรกรรม ได้แก่ งานเขียนลวดลายเรขาคณิต ลวดลายดอกไม้
- หัตถกรรม ได้แก่ เครื่องปั้นดินเผา เครื่องโลหะ เครื่องทองเหลือง
- วรรณกรรม ได้แก่ นิทานอาหรับราตรี รุไบยาดของโอมาร์ คัยยัม
ศิลปะไบเซนไทน์ ( Bizentine ) การสร้างสรรค์เพื่อพระผู้ไถ่บาปให้แก่มวลมนุษย์ ( ค.ศ.330-1453 )
โบสถ์เซนต์โซเฟีย ( ค.ศ.532-537 )
ในเมืองฮาร์บิน เมืองหลวงของมณฑลเฮอหลงเจียง เป็นสถาปัตยกรรมแห่งการผสมผสาน นับเป็นรวมลักษณะความโดดเด่นของกรีก โรมัน และลักษณะตะวันออก แบบอาหรับหรือเปอร์เซีย ไว้ในผลงานชิ้นเดียวกันได้อย่ากลมกลืน
ศิลปะโกธิค
- เกิดขึ้นในยุโรประหว่างกลางศตวรรษที่ 12 ปลายศตวรรษที่ 15 เป็นศิลปะที่มีความอ่อนโยนคล้ายธรรมชาติและเป็นมนุษย์นิยม มีอิสระในการแสดงออก เป็นศิลปะที่หลุดพ้นจากอิทธิพลของกรีก โรมัน แต่ก็ชี้ให้เห็นถึงความเชื่อและความศรัทธาในศาสนาคริสต์
- ต่างจากศิลปะไบแซนไทน์ ซึ่งเคร่งครัดในกฎเกณฑ์
- จุดเด่นของศิลปะโกธิค ส่วนใหญ่เป็นวิหารทางศาสนาคริสต์ ดัดแปลงจากสมัยโรมาเนสก์ คือ ประตู เพดานและหลังคาโค้งปลายแหลม ทำให้อาคารดูสง่างาม ภายในตัวอาคารจะประดับประดาด้วยกระจกสี ซึ่งเป็นงานยิ่งใหญ่ของ
วิหารแรงส์ ( ค.ศ.1211-1290 )
เป็นช่วงเวลาแห่งความรุ่งเรืองและเป็นวิหารที่เป็นความภาคภูมิใจของชาวฝรั่งเศส
- เกิดขึ้นในยุโรประหว่างกลางศตวรรษที่ 12 ปลายศตวรรษที่ 15 เป็นศิลปะที่มีความอ่อนโยนคล้ายธรรมชาติและเป็นมนุษย์นิยม มีอิสระในการแสดงออก เป็นศิลปะที่หลุดพ้นจากอิทธิพลของกรีก โรมัน แต่ก็ชี้ให้เห็นถึงความเชื่อและความศรัทธาในศาสนาคริสต์
- ต่างจากศิลปะไบแซนไทน์ ซึ่งเคร่งครัดในกฎเกณฑ์
- จุดเด่นของศิลปะโกธิค ส่วนใหญ่เป็นวิหารทางศาสนาคริสต์ ดัดแปลงจากสมัยโรมาเนสก์ คือ ประตู เพดานและหลังคาโค้งปลายแหลม ทำให้อาคารดูสง่างาม ภายในตัวอาคารจะประดับประดาด้วยกระจกสี ซึ่งเป็นงานยิ่งใหญ่ของศิลปะโกธิค
ศิลปะสมัยกลาง
ศิลปะยุคฟื้นฟูศิลปะและวิทยาการ ( Renaissance )
โบสถ์เซนต์ปีเตอร์ ( ค.ศ.1506-1546 )
เป็นสิ่งก่อสร้างทางสถาปัตยกรรมที่เป็นตัวแทนแห่งยุคสมัยและได้รับการยอมรับว่ามีคุณค่าทางศิลปะ ผู้ออกแบบและเริ่มดำเนินการสร้าง คือ บรามานเต ( ค.ศ.1506 ) แต่เขาถึงแก่กรมมก่อนงานจะเสร็จ จึงเป็นภาระหน้าที่ของสถาปนิกอีกหลายคน จนกระทั่ง ค.ศ.1546 มิเคลันเจโลก็ได้รับการติดต่อจากสันตะปาปาจอห์นปอลที่ 3 ให้เป็นสถาปนิกรับผิดชอบออกแบบก่อสร้างต่อไป โดยเฉพาะอาคารที่อยู่ตรงกลาง มิเคลันเจโลได้แรงบันดาลใจมาจากวิหารแพนธีออนของจักวรรดิโรมัน
ภาพโมนาลิซา ( ค.ศ.1503-1505 )
เป็นภาพเขียนสีน้ำมันบนผ้า แสดงให้เห็นถึงความสามารถในการถ่ายทอดแบบเลียนแบบธรรมชาติ การนำธรรมชาติมาเป็นฉากหลังและสร้างมิติใกล้ไกลแบบวิทยาศาสตร์การเห็น ( ทัศนียภาพ หรือ Perspective )
เลโอนาร์โด ดา วินชี เป็นผู้ริเริ่มการเขียนภาพแบบแสดงค่าตัดกันระหว่างความมืดกับความสว่างที่เรียกว่า คิอารอสกูโร ( Chiaroscuro )
ดาวิด ( ค.ศ.1501-1504 )
เป็นรูปสลักหินอ่อน มีความสูงถึง 13 ฟุต 5 นิ้ว เป็นการถ่ายทอดรูปแบบที่มีกรีกและโรมันเป็นแนวทางจึงทำให้รูปดาวิดมีลักษณะทางกายภาพสอคล้องกับอุดมคติของกรีกและโรมันที่เน้นความสมบูรณ์ทางสรีระ
- เป็นยุคสมัยที่มีคุณค่ายิ่งต่อวิวัฒนาการทางจิตรกรรมของโลก คือ ความมีอิสระในการสร้างสรรค์ศิลปะของมนุษย์ ความมีลักษณะเฉพาะตัวของศิลปิน กล้าที่จะคิดและแสดงออกตามแนวความคิดที่ตนเองชอบและต้องการแสวงหา
- งานจิตรกรรมมีความตื่นตัวและเจริญก้าวหน้าทางเทคนิควิธีการเป็นอย่างมาก ได้มีการคิดค้นการเขียนภาพลายเส้นทัศนียภาพ ( Linear Perspective ) ซึ่งนำไปสู่การเขียนภาพทิวทัศน์ที่งดงาม
- ศิลปินได้พยายามศึกษากายวิภาคด้วยการผ่าตัดศพ พร้อมฝึกวาดเส้นสรีระและร่างกายมนุษย์อย่างละเอียด
- ความเจริญก้าวหน้าในงานจิตรกรรมสีน้ำมันประสบความสำเร็จอย่างสูงในยุคนี้ด้วย
ศิลปะสมัยกลาง
ศิลปะบาโรก ( Baroque ) ค.ศ.1580-1750
พระราชวังแวร์ซาย (ค.ศ.1661-1691)
สร้างขึ้นด้วยหินอ่อน ในสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ของฝรั่งเศส ใช้เงินประมาณ 500 ล้านฟรังส์ จุคนได้ประมาณ 10,000 คน เพื่อประกาศให้นานาประเทศเห็นถึงอำนาจและบารมีของพระองค์
- เป็นยุคที่มีการสร้างสรรค์งานศิลปะเพื่อการแสดงออกที่เรียกร้องความสนใจมากเกินไป มุ่งหวังความสะดุดตาราวกับจะกวักมือเรียกผู้คนให้มาสนใจศาสนา การประดับตกแต่งมีลักษณะฟุ้งเฟ้อเกินความพอดี
ศิลปะสมัยกลาง
ศิลปะโรโคโค ( Rococo ) ค.ศ.1700-1789
- เป็นผลงานศิลปะที่สะท้อนความโอ่อ่า หรูหรา ประดับประดาตกแต่งที่วิจิตร ละเอียดลออ ส่งเสริมความรื่นเริงยินดี ความรัก กามารมณ์
ศิลปะคลาสสิกใหม่ ( Neoclassic ) ค.ศ.1780-1840
- เป็นลัทธิทางศาสนาที่เก่าแก่ที่สุด ได้ฟื้นฟูศิลปะคลาสสิกอันงดงามของกรีกและโรมันกลับมาสร้างใหม่ในปรัชญาที่ว่า ศิลปะ คือ ดวงประทีปของเหตุผล โดยเน้นความประณีต ละเอียดอ่อน นุ่มนวล และเหมือนจริงด้วยสัดส่วนและแสงเงา
- เป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อของศิลปะสมัยกลางและศิลปะสมัยใหม่ มีผลต่อการคิดค้นสร้างสรรค์ศิลปะอย่างกว้างขวางในเวลาต่อมา
สมัยใหม่
สาเหตุของการเปลี่ยนแปลง
1. ด้านเศรษฐกิจ เกิดการตื่นตัวทางการค้า มีการสำรวจดินแดนใหม่ๆ (Age of Discovery)
2. กำเนิดชนชั้นกลาง คือ พ่อค้าและปัญญาชน ความเสื่อมของระบบฟิวดัล พระและขุนนางถูกลด
บทบาท
3. การปกครองเปลี่ยนไปสู่ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ เกิดแนวคิดความเป็นรัฐชาติ
4. การปฏิวัติวิทยาศาสตร์ เรียกยุคนี้ว่า Age of Reason และ Age of Enlightenment
5. การปฏิรูปศาสนา เกิดนิกายโปรเตสแตนท์ โดย มาร์ติน ลูเธอร์
วรรณกรรม มีการใช้ภาษาถิ่นแทนภาษาละติน
ศิลปะสมัยใหม่ ( Modern Art )
1. ศิลปะจินตนิยม ( Romanticism ) ค.ศ.1800-1900
- ก่อเกิดในอังกฤษและฝรั่งเศสช่วงระยะเวลาที่ใกล้เคียงกัน มีทรรศนะคติที่ต้องการความเป็นอิสระในการแสดงออกที่ศิลปินต้องการมากกว่าการเดินตามกฎเกณฑ์และแบบแผนทางศิลปะ ดังที่ศิลปินลัทธิคลาสสิกใหม่ยังยึดถืออยู่
- เป็นศิลปะที่เน้นอารมณ์อยู่เหนือเหตุผล มุ่งสร้างสรรค์งานที่ตื่นเต้น เร้าใจ ก่อให้เกิดอารมณ์สะเทือนใจ
แก่ผู้ชม
2. ศิลปะสัจนิยม ( Realisticism ) กลางคริสต์ศตวรรษที่ 19
- ศิลปินในยุคนี้ได้แก่ กุสตาฟ คูร์เบท์ , ฌอง ฟรังซัวส์ มิล์เลท์
3. ศิลปะลัทธิประทับใจ ( Impressionism ) ศิลปะแห่งความงดงามของประกายแสงและสี
- แสดงภาพทิวทัศน์บก ทะเล ริมฝั่ง เมืองและชีวิตประจำวันที่รื่นรมย์ เช่น การสังสรรค์ บัลเลต์ การ
แข่งม้า สโมสร นิยมเขียนภาพนอกห้องปฏิบัติงาน
- พยายามแสดงคุณสมบัติของแสงสี อันเป็นผลมาจากความรู้เกี่ยวกับแสงจากสเปกตรัมและสี ซึ่งเป็น
ผลผลิตจากความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์
- ศิลปินในยุคนี้ ได้แก่ มาเนท์ , โคลด โมเนท์ , เรอนัวร์ , เดอกาส์ , โรแดง , รอสโซ
4. ศิลปะลัทธิประทับใจใหม่ ( Neo-Impressionism ) สีจากแสงสเปกตรัมมาสู่อนุภาค
- เกิดเทคนิคการระบายสีเป็นสีจากจุด ซึ่งเป็นผลมาจากความเชื่อทางฟิสิกส์ว่า แสง คือ อนุภาค โดย
การระบายสีให้เกิดริ้วรอยพู่กันเล็กๆด้วยสีสดใส จุดสีเล็กๆนี้จะผสานกันในสายตาของผู้ชม มากกว่า
การผสมสีอันเกิดจากการผสมบนจานสี
- ศิลปินคนสำคัญ ได้แก่ จอร์จส์ เซอราท์ , คามิลล์ พีส์ซาร์โร , พอล ซิบัค
5. ศิลปะลัทธิประทับใจยุคหลัง ( Post-Impressionism )
6. ศิลปะลัทธิบาศกนิยม ( Cubism ) ค.ศ.1907-1910
7. ศิลปะลัทธิเหนือจริง ( Surrealism ) ศิลปกรรมที่เปิดเผยความฝันและจิตใต้สำนึก
8. ศิลปะลัทธินามธรรม ( Abstractionism ) ศิลปะไร้รูปลักษณ์
พัฒนาการของมนุษย์ยุคใหม่
ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ โดยเฉพาะดาราศาสตร์ ในคริสต์ศตวรรษที่ 15 เป็นผลให้นักเดินเรือสามารถเดินทางและกำหนดเป้าหมายได้อย่างมีระบบ ขยายการค้าและการติดต่อระหว่างตะวันออกกับตะวันตกได้
สาเหตุการสำรวจทางทะเล
1. ความก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์ และความรู้ด้านภูมิศาสตร์ แผนที่ของปิโตเลมี
2. การใช้เข็มทิศและความก้าวหน้าในการต่อเรือเดินสมุทร อย่างมีประสิทธิภาพ
3. ความต้องการสินค้าและวัตถุดิบจากโลกตะวันออก
โปรตุเกสเป็นชาติแรกที่เป็นผู้นำในการเดินเรือ นักสำรวจที่สำคัญ ได้แก่
1. นาโธโลนิว ไดแอส สามารถเดินเรือเลียบทวีแอฟริกา อ้อมแหลมกู๊ดโฮป
2. วาสโกดา กามา เดินเรือมาทวีปเอเซีย ขึ้นฝั่งที่ประเทศอินเดีย
3. คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส ชาวอิตาลีค้นพบทวีปอเมริกา
4. เฟอร์ดินันด์ แมกเจลแลน นักแสวงโชคผู้สามารถเดินเรือรอบโลกได้เป็นผู้สำเร็จคนแรก
ความก้าวหน้าวิทยาศาสตร์สาขาอื่นนอกจากดาราศาสตร์
1. ทอร์ริเซลลี นักวิทยาศาสตร์ชาวอิตาลี ประดิษฐ์บารอมิเตอร์เพื่อใช้วัดความกดดันของบรรยากาศ
2. เกอร์ริก ชาวเยอรมันพิสูจน์ว่าอากาศมีความดกดัน
3. เซอร์ ไอแซค นิวตัน นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษที่ศึกษาเรื่องการหักเหของแสง และแรงดึงดูดของ
โลก
4. พาราเซลซัส ชาวสวิตเซอร์แลนด์ ได้ศึกษาเกี่ยวกับธาตุที่ใช้ในการรักษาโรค
5. โรเบิร์ต บอยล์ นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ ศึกษาวิธีเตรียมฟอสฟอรัสจากน้ำปัสสาวะกับกระดูก และ
ให้คำจำกัดความของ "ธาตุ" คือ สารที่จะไม่มีการแปรให้เป็นสิ่งอื่นได้เลย
6. โรเบิร์ต ฮุค ได้ตั้ง "กฎของบอยล์" ว่า อากาศหรือก๊าซเมื่อถูกความร้อนจะขยายตัว และถ้าอุณหภูมิมี
ค่าคงที่แล้ว ก๊าซจะมีปริมาณน้อยมากตามปฏิภาคอย่างกลับกับความกดดันของก๊าซนั้น ๆ และศึกษา
ว่าแสงเป็นคลื่นได้
7. เจมส์ วัตต์ นักประดิษฐ์ชาวสก็อตแลนด์ที่ได้เห็นเครื่องสูบน้ำของนิวโคเมนและได้นำมาพัฒนาเป็น
เครื่องจักรกล ทำให้การปฏิวัติอุตสาหกรรมพัฒนาได้เร็วขึ้น
กระบวนการเปลี่ยนแปลงในยุคใหม่
การปฏิวัติวิทยาศาสตร์
หมายถึง วิธีการทางวิทยาศาสตร์ ได้แก่ การสังเกต การตรวจสอบ และการทดลองอย่างมีหลักการและมีเหตุผล เกิดขึ้นในศตวรรษที่ 16 - 18
นักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญ ได้แก่
1. กาลิเลโอ ใช้กล้องโทรทรรศน์ยืนยันความถูกต้องของระบบสุริยจักรวาล
2. เซอร์ ไอแซค นิวตัน ค้นพบกฎการโน้มถ่วง แรงดึงดูดของโลก
3. โยฮันเนส เคปเลอร์ ค้นพบวงโคจรของดาวเคราะห์เป็นวงรีไม่ใช่วงกลม
4. เรอเน เดสการ์ต บิดาแห่งเรขาคณิตวิเคราะห์สมัยใหม่
5. ปิโตรเลมี ศึกษาโลกเป็นศูนย์กลางของจักรวาล
การปฏิวัติอุตสาหกรรมและผลในด้านต่าง ๆ
การปฏิวัติอุตสาหกรรม หมายถึง การเปลี่ยนแปลงกระบวนการผลิต จากการใช้แรงงานคนและสัตว์มาเป็นการใช้เครื่องจักรแทน หรือเปลี่ยนจากการผลิตในครัวเรือนเป็นการผลิตระบบโรงงาน ซึ่งเกิดขึ้นในช่วงศตวรรษที่ 18
ระยะของการปฏิวัติอุตสาหกรรม
การปฏิวัติอุตสาหกรรมระยะแรก เป็นการใช้พลังไอน้ำในการขับเคลื่อนเครื่องจักรในอุตสาหกรรมทอผ้า และต่อมามีการใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิง ประเทศอังกฤษเป็น
ผู้นำอุตสาหกรรมประเทศแรกในการปฏิวัติอุตสาหกรรม
การปฏิวัติอุตสาหกรรมระยะที่สอง เป็นช่วงที่มีการใช้พลังงานไฟฟ้า ก๊าซ และน้ำมันมาใช้แทนถ่านหินหรือเป็นการปฏิวัติอุตสาหกรรมเหล็กกล้า มีกระบวนการผลิตแยกส่วนแล้วนำมาประกอบกัน มีโรงงานขนาดใหญ่ขึ้น มีจำนวนคนทำงานในเมืองมากขึ้น เกิดเป็นสังคมเมืองขนาดใหญ่
การปฏิวัติอุตสาหกรรมระยะที่สาม เป็นสมัยเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ มีการประดิษฐ์เครื่องจักรไดนาโมของไมเคิล ฟาราเดย์ เช่น ภาพยนตร์ โทรเลข โทรศัพท์ การพิมพ์
สาเหตุที่อังกฤษเป็นผู้นำในการปฏิวัติอุตสาหกรรม
1. มีระบบการเงินที่มั่นคง
2. มีวัตถุดิบที่จำเป็นต่ออุตสาหกรรม ได้แก่ เหล็ก ถ่านหิน
3. มีประชากรเพิ่มขึ้นจากการปฏิวัติเกษตรกรรมทำให้มีแรงงานเพิ่มมากขึ้น
4. มีความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
5. มีตลาดการค้ากว้างขวางเนื่องจากมีการล่าอาณานิคมมากขึ้น
6. มีการคมนาคมขนส่งสะดวก
อารยธรรมและปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดอารยธรรมของโลก
ความหมายของอารยธรรม (Civilization)
อารยธรรม ได้แก่ วัฒนธรรมขั้นสูง หรือความเจริญด้านวัฒนธรรมในลักษณะของสังคมเมือง คำว่า Civilization มีรากศัพท์มาจากคำว่า Civitas ในภาษาละติน มีความหมายว่า “เมืองใหญ่” หรือ “นคร” ดังนั้น สังคมที่มาอารยธรรมจึงหมายถึงสังคมที่มีความเจริญก้าวหน้าแบบสังคมเมือง เป็นความเจริญรุ่งเรืิองที่มีการประสานความร่วมมือระหว่างสมาชิกในสังคม สังคมเมืองมีโครงสร้างของสังคมที่เป็นระบบ และมีสมาชิกที่มีความสามารถและความชำนาญพิเศษในการคิดประดิษฐ์ ตลอดจนสร้างความเจริญก้าวหน้าให้แก่สังคมอยู่เสมอ
อารยธรรมไม่สามารถเกิดขึ้นเองได้โดยอัตโนมัติ หากแต่เป็นพัฒนาการความเจริญที่มีรากฐานมาจากวัฒนธรรมต่างๆ อารยธรรมสำคัญของมนุษย์ เช่น การประดิษฐ์ตัวอักษรเพื่อใช้บันทึกเหตุการณ์และสื่อสารความรู้สึกนึกคิดจะไม่สามารถเกิดขึ้นได้ในสังคม ถ้าหากมนุษย์ในสังคมนั้นปราศจากภาษาที่ใช้สื่อสารกันภายในกลุ่มของตน เช่นเดียวกับความเจริญก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยี วิทยาศาสตร์ และการแพทย์แผนปัจจุบันที่สามรถเอาชนะโรคร้ายต่างๆ และชะลอความตายของมนุษย์ด้วยวิธีการปลูกถ่ายอวัยวะ ก็เป็นพัฒนาการของการบำบัดรักษาโรคของแพทย์แผนโบราณซึ่งมีมาตั้งแต่อดีตในทุกสังคม อนึ่ง รถไฟที่สามารถบรรทุกคนและสิ่งของได้เป็นจำนวนมาก ก็เป็นวิวัฒนาการของระบบขนส่งมวลชนที่มีรากฐานมาจากระบบขนส่งดั้งเดิมที่ใช้เกวียนหรือรถม้านั่นเอง
อารยธรรมของแต่ละกลุ่มชนอาจพัฒนาจากวัฒนธรรมที่มีอยู่ภายในสังคมของตนได้โดยอิสระ หรือเกิดจากการยืมและดัดแปลงอารยธรรมของสังคมอื่น เช่น ชาวสุเมเรียน ซึ่งเป็นชนชาติที่มีความเจริญรุ่นแรกในเมโสโปเตเมีย สามารถพัฒนาวัฒนธรรมขั้นสูงขึ้นภายในสังคมของตนเองได้ พวกเขาคิดประดิษฐ์ระบบชั่ง ตวง วัด การทำปฏิทิน ฯลฯ ซึ่งเป็นรากฐานของอารยธรรมตะวันตก ส่วนอารยธรรมไทยด้านปรัชญา ศาสนา กฎหมายและการปกครองนั้นเป็นพัฒนาการที่มีรากฐานมาจากอารยธรรมอินเดีย อนึ่ง ตัวอักษรในภาษาญี่ปุ่นก็เป็นการผสมผสานระหว่างอารยธรรมจีนและอารยธรรมของญี่ปุ่นเอง เนื่องจากตัวอักษรญี่ปุ่นประกอบด้วยตัวอักษรจีนที่ญี่ปุ่นรับเอาไปใช้และตัวอักษรที่ชาวญี่ปุ่นคิดประดิษฐ์ขึ้นมาเองภายหลัง
ปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดอารยธรรม
อารยธรรมซึ่งเกิดขึ้นในภูมิภาคต่างๆ ของโลกอาจมีลักษณะที่คล้ายคลึงกันหรือแตกต่างกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยสำคัญต่อไปนี้
1.สภาพแวดล้อมทางภูมิศาสตร์
สภาพแวดล้อมทางภูมิศาสตร์ประกอบด้วยที่ตั้ง ภูมิอากาศ และความอุดมสมบูรณ์ของดิน ซึ่งล้วนเป็นปัจจัยที่ส่งเสริมการสร้างสรรค์อารยธรรมของมนุษย์ในดินแดนต่างๆ ปัจจัยทางภูมิศาสตร์ที่สำคัญได้แก่ ลักษณะที่ตั้ง สภาพภูมิอากาศ และทรัพยากรธรรมชาติ
ชุมชนที่ตั้งอยู่ใกล้แหล่งน้ำ เช่น แม่น้ำ จะมีโอกาสใช้ทรัพยากรน้ำในการบริโภค เพาะปลูก และเลี้ยงสัตว์ จึงดึงดูดผู้คนจากแหล่งต่างๆ ให้เข้ามาพำนักอาศัย และสามารถขยายตัวเป็นสังคมเมืองได้ในเวลาต่อมา นอกจากนี้ชุมชนที่อยู่ริมน้ำยังสามารถใช้แม่น้ำเป็นเส้นทางคมนาคม เพื่อติดต่อกับโลกภายนอก และเพื่อค้าขายหรือแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม ทำให้เกิดการพัฒนาความเจริญในด้านต่างๆ เช่น ระบบการค้า การปกครอง กฎหมาย การก่อสร้าง วรรณกรรม ฯลฯ จะเห็นได้ว่าแหล่งอารยธรรมแรกเริ่มของโลก 4 แห่งล้วนเกิดขึ้นในลุ่มแม่น้ำทั้งสิ้น ได้แก่ อารยธรรมเมโสโปเตเมียซึ่งอยู่ระหว่างลุ่มแม่น้ำไทกริสและยูเฟรทีส อารยธรรมอียิปต์ในลุ่มแม่น้ำไนล์ อารยธรรมจีนในลุ่มแม่น้ำหวงเหอ และอารยธรรมอินเดียซึ่งถือกำเนิดในลุ่มแม่น้ำสินธุ นอกจากนี้แล้ว ดินแดนที่ตั้งอยู่ในเขตทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ทะเลอาหรับ อ่าวเปอร์เซีย ทะเลจีนใต้ ฯลฯ ก็สามารถพัฒนาเป็นเมืองท่าติดต่อกับโลกภายนอกได้ตั้งแต่สมัยโบราณ ทำให้มีโอกาสรับและแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมจากดินแดนอื่นที่เจริญรุ่งเรือง และนำความเจริญนั้นๆ มาพัฒนาบ้านเมืองของตนให้เจริญก้าวหน้า
อนึ่ง ลักษณะทางภูมิอากาศที่เหมาะสม ไม่ร้อนจัดหรือหนาวจัดจนเกินไป ก็ส่งเสริมให้มีผู้คนอาศัยอยู่หนาแน่น เช่นเดียวกับพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ จะดึงดูดให้มีการตั้งถิ่นฐาน กระทั่งชุมชนนั้นขยายตัวเป็นเมือง
ทรัพยากรธรรมชาติเป็นปัจจัยสำคัญอีกประการหนึ่งที่มีอิทธิพลต่อการตั้งถิ่นฐาน ตั้งแต่อดีตมนุษย์อาศัยทรัพยากรธรรมชาติในการดำรงชีวิตและประกอบกิจกรรมทางเศรษฐกิจ พื้นที่ที่มีทรัพยากรอุดมสมบูรณ์จึงดึงดูดให้มีการตั้งถิ่นทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญ ได้แก่ ป่าไม้ สัตว์ป่า สัตว์น้ำ และแร่ธาตุ
2.ความก้าวหน้าในการคิดค้นเทคโนโลยี
การขยายชุมชนเป็นสังคมใหญ่ ทำให้เกิดปัญหาในการจัดสรรทรัพยากรให้เพียงพอสำหรับสมาชิกในชุมชนนั้นๆ ดังนั้นผู้นำของสังคมนั้นๆ จึงจำเป็นต้องประดิษฐ์และค้นหาวิธีการต่างๆ เช่น การคิดค้นระบบชลประทานเพื่อทดน้ำเข้าไปในพื้นที่ที่อยู่ห่างไกลจากริมฝั่งแม่น้ำ เพื่อขยายพื้นที่เพาะปลูก หรือการสร้างอ่างเก็บน้ำเพื่อกักเก็บน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้ง ตลอดจนการสร้างประตูระบายน้ำและทำนบกั้นน้ำเพื่อป้องกันน้ำท่วมพื้นที่เพาะปลูก เทคโนโลยีเหล่านี้นับว่าเป็นความเจริญขั้นสูงที่สร้างความเจริญรุ่งเรืองให้แก่อาณาจักรสมัยโบราณ เช่น อียิปต์ เมโสโปเตเมีย และจีน
นอกจากนี้แล้ว เครื่องทุ่นแรงและเครื่องมือเครื่องใช้ที่มนุษย์ในดินแดนต่างๆ คิดประดิษฐ์ขึ้นมาก็เป็นรากฐานของอารยธรรมด้วย เป็นต้นว่า ความสามารถในการคำนวณและการประดิษฐ์เครื่องทุ่นแรงทำให้เกิดสถาปัตยกรรมสำคัญของโลก เช่น พีระมิดในอียิปต์ กำแพงเมืองจีน และปราสาทหินนครวัดของพวกเขมรโบราณในประเทศกัมพูชาปัจจุบัน
3.ความคิดในการจัดระเบียบสังคม
การอยู่ร่วมกันในสังคมขนาดใหญ่ จำเป็นต้องมีการสร้างกฎเกณฑ์ และระเบียบต่างๆ เพื่อให้ทุกคนได้อยู่ร่วมกันอย่างผาสุก ไม่เบียดเบียน หรือข่มเหงรังแกซึ่งกันและกัน แต่ละสังคมจึงมีการจัดโครงสร้างการปกครอง มีผู้ปกครองซึ่งมีสถานะที่แตกต่างกันตามลักษณะและขนาดของสังคมนั้นๆ เช่น แคว้น รัฐ หรืออาณาจักร และมีผู้อยู่ใต้การปกครอง ซึ่งอาจจำแนกตามอาชีพและฐานะ เช่น พระ ข้าราชการ พ่อค้า แพทย์ กรรมกร ชาวนาน และทาส โดยมีการตรากฎหมายเป็นเครื่องมือในการปกครอง นอกจากนี้ การยอมรับสถานะที่สูงส่งของผู้ปกครอง เช่น ชาวอียิปต์เชื่อว่ากษัตริย์หรือฟาโรห์ของตนเป็นเทพเจ้า และชาวจีนเชื่อว่าจักรพรรดิของตนเป็นโอรสแห่งสวรรค์ก็ทำให้ผู้นำประเทศมีอำนาจจัดการปกครองให้ประชาชนอยู่ร่วมกันภายใต้กฎระเบียบอย่างสันติสุขได้
อนึ่ง เพื่อให้ดินแดนหรือแว่นแคว้นของตนจริญก้าวหน้า ผู้ปกครองดินแดนนั้นยังได้สร้างระบบเศรษฐกิจให้มั่นคง เช่น พวกสุเมเรียนในเมโสโปเตเมียได้คิดค้น จัดเก็ยภาษี รวมทั้งมาตราชั่ง ตวง วัด เพื่อให้การแลกเปลี่ยนสินค้าในอาณาจักรของตนดำเนินไปได้โดยราบรื่น มาตราชั่ง ตวง วัด เป็นเครื่องมือสำคัญของระบบการค้า ซึ่งเป็นระบบที่ทำให้ผู้คนในดินแดนต่างๆ ได้พบปะแลกเปลี่ยนประสบการณ์และเรียนรู้วัฒนธรรมของชนชาติอื่นๆ จนกระทั่งสามารถนำไปพัฒนาให้เกิดอารยธรรมขึ้นได้ในเวลาต่อมา
ความเจริญรุ่งเรืองที่กลายเป็นวัฒนธรรมขั้นสูงหรืออารยธรรมนั้น เกิดขึ้นได้ด้วยความสามารถของมนุษย์ที่คิดค้นระบบและกลไลในการเอาชนะธรรมชาติ หรือใช้ประโยชน์จากธรรมชาติ ดินแดนที่มีอารยธรรมรุ่งงเรืองจึงเจริญก้าวหน้า สามารถขยายอาณาเขตและอำนาจออกไปอย่างกว้างขวาง กลายเป็นอาณาจักรหรือจักรวรรดิที่ยิ่งใหญ่ เช่น อาณาจักรอียิปต์ อาณาจักรเมโสโปเตเมีย จักรวรรดิจีน จัักรวรรดิอินเดียในสมัยราชวงศ์โมกุล จักรวรรดิโรมัน อาณาจักรขอม จักรวรรดิอังกฤษ ฯลฯ อย่างไรก็ตาม อารยธรรมที่เจริญรุ่งเรืองของดินแดนต่างๆ นั้น บางส่วนได้สาบสูญไป เช่น ตำราและวิชาการบางอย่าง ส่วนที่ยังคงดำรงอยู่ก็เป็นมรดกสืบทอดต่อมาทั้งในดินแดนของตนหรือในดินแดนอื่นๆ ที่นำไปถ่ายทอด ทำให้ความเจริญเหล่านั้นสามารถดำรงต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน เช่น กฎหมาย ศาสนา ภาษา ศิลปกรรม สถาปัตยกรรม ดนตรี ฯลฯ ดังนั้นการศึกษาเรื่องราวของอารยธรรมมนุษย์ตั้งแต่ยุคเริ่มแรก จึงเป็นการศึกษาเพื่อให้เข้าใจถึงความเจริญของมนุษยชาติที่มีมาตั้งแต่อดีต และกลายเป็นรากฐานความเจริญของมนุษย์ในสังคมปัจจุบัน เ
อารยธรรม ได้แก่ วัฒนธรรมขั้นสูง หรือความเจริญด้านวัฒนธรรมในลักษณะของสังคมเมือง คำว่า Civilization มีรากศัพท์มาจากคำว่า Civitas ในภาษาละติน มีความหมายว่า “เมืองใหญ่” หรือ “นคร” ดังนั้น สังคมที่มาอารยธรรมจึงหมายถึงสังคมที่มีความเจริญก้าวหน้าแบบสังคมเมือง เป็นความเจริญรุ่งเรืิองที่มีการประสานความร่วมมือระหว่างสมาชิกในสังคม สังคมเมืองมีโครงสร้างของสังคมที่เป็นระบบ และมีสมาชิกที่มีความสามารถและความชำนาญพิเศษในการคิดประดิษฐ์ ตลอดจนสร้างความเจริญก้าวหน้าให้แก่สังคมอยู่เสมอ
อารยธรรมไม่สามารถเกิดขึ้นเองได้โดยอัตโนมัติ หากแต่เป็นพัฒนาการความเจริญที่มีรากฐานมาจากวัฒนธรรมต่างๆ อารยธรรมสำคัญของมนุษย์ เช่น การประดิษฐ์ตัวอักษรเพื่อใช้บันทึกเหตุการณ์และสื่อสารความรู้สึกนึกคิดจะไม่สามารถเกิดขึ้นได้ในสังคม ถ้าหากมนุษย์ในสังคมนั้นปราศจากภาษาที่ใช้สื่อสารกันภายในกลุ่มของตน เช่นเดียวกับความเจริญก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยี วิทยาศาสตร์ และการแพทย์แผนปัจจุบันที่สามรถเอาชนะโรคร้ายต่างๆ และชะลอความตายของมนุษย์ด้วยวิธีการปลูกถ่ายอวัยวะ ก็เป็นพัฒนาการของการบำบัดรักษาโรคของแพทย์แผนโบราณซึ่งมีมาตั้งแต่อดีตในทุกสังคม อนึ่ง รถไฟที่สามารถบรรทุกคนและสิ่งของได้เป็นจำนวนมาก ก็เป็นวิวัฒนาการของระบบขนส่งมวลชนที่มีรากฐานมาจากระบบขนส่งดั้งเดิมที่ใช้เกวียนหรือรถม้านั่นเอง
อารยธรรมของแต่ละกลุ่มชนอาจพัฒนาจากวัฒนธรรมที่มีอยู่ภายในสังคมของตนได้โดยอิสระ หรือเกิดจากการยืมและดัดแปลงอารยธรรมของสังคมอื่น เช่น ชาวสุเมเรียน ซึ่งเป็นชนชาติที่มีความเจริญรุ่นแรกในเมโสโปเตเมีย สามารถพัฒนาวัฒนธรรมขั้นสูงขึ้นภายในสังคมของตนเองได้ พวกเขาคิดประดิษฐ์ระบบชั่ง ตวง วัด การทำปฏิทิน ฯลฯ ซึ่งเป็นรากฐานของอารยธรรมตะวันตก ส่วนอารยธรรมไทยด้านปรัชญา ศาสนา กฎหมายและการปกครองนั้นเป็นพัฒนาการที่มีรากฐานมาจากอารยธรรมอินเดีย อนึ่ง ตัวอักษรในภาษาญี่ปุ่นก็เป็นการผสมผสานระหว่างอารยธรรมจีนและอารยธรรมของญี่ปุ่นเอง เนื่องจากตัวอักษรญี่ปุ่นประกอบด้วยตัวอักษรจีนที่ญี่ปุ่นรับเอาไปใช้และตัวอักษรที่ชาวญี่ปุ่นคิดประดิษฐ์ขึ้นมาเองภายหลัง
ปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดอารยธรรม
อารยธรรมซึ่งเกิดขึ้นในภูมิภาคต่างๆ ของโลกอาจมีลักษณะที่คล้ายคลึงกันหรือแตกต่างกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยสำคัญต่อไปนี้
1.สภาพแวดล้อมทางภูมิศาสตร์
สภาพแวดล้อมทางภูมิศาสตร์ประกอบด้วยที่ตั้ง ภูมิอากาศ และความอุดมสมบูรณ์ของดิน ซึ่งล้วนเป็นปัจจัยที่ส่งเสริมการสร้างสรรค์อารยธรรมของมนุษย์ในดินแดนต่างๆ ปัจจัยทางภูมิศาสตร์ที่สำคัญได้แก่ ลักษณะที่ตั้ง สภาพภูมิอากาศ และทรัพยากรธรรมชาติ
ชุมชนที่ตั้งอยู่ใกล้แหล่งน้ำ เช่น แม่น้ำ จะมีโอกาสใช้ทรัพยากรน้ำในการบริโภค เพาะปลูก และเลี้ยงสัตว์ จึงดึงดูดผู้คนจากแหล่งต่างๆ ให้เข้ามาพำนักอาศัย และสามารถขยายตัวเป็นสังคมเมืองได้ในเวลาต่อมา นอกจากนี้ชุมชนที่อยู่ริมน้ำยังสามารถใช้แม่น้ำเป็นเส้นทางคมนาคม เพื่อติดต่อกับโลกภายนอก และเพื่อค้าขายหรือแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม ทำให้เกิดการพัฒนาความเจริญในด้านต่างๆ เช่น ระบบการค้า การปกครอง กฎหมาย การก่อสร้าง วรรณกรรม ฯลฯ จะเห็นได้ว่าแหล่งอารยธรรมแรกเริ่มของโลก 4 แห่งล้วนเกิดขึ้นในลุ่มแม่น้ำทั้งสิ้น ได้แก่ อารยธรรมเมโสโปเตเมียซึ่งอยู่ระหว่างลุ่มแม่น้ำไทกริสและยูเฟรทีส อารยธรรมอียิปต์ในลุ่มแม่น้ำไนล์ อารยธรรมจีนในลุ่มแม่น้ำหวงเหอ และอารยธรรมอินเดียซึ่งถือกำเนิดในลุ่มแม่น้ำสินธุ นอกจากนี้แล้ว ดินแดนที่ตั้งอยู่ในเขตทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ทะเลอาหรับ อ่าวเปอร์เซีย ทะเลจีนใต้ ฯลฯ ก็สามารถพัฒนาเป็นเมืองท่าติดต่อกับโลกภายนอกได้ตั้งแต่สมัยโบราณ ทำให้มีโอกาสรับและแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมจากดินแดนอื่นที่เจริญรุ่งเรือง และนำความเจริญนั้นๆ มาพัฒนาบ้านเมืองของตนให้เจริญก้าวหน้า
อนึ่ง ลักษณะทางภูมิอากาศที่เหมาะสม ไม่ร้อนจัดหรือหนาวจัดจนเกินไป ก็ส่งเสริมให้มีผู้คนอาศัยอยู่หนาแน่น เช่นเดียวกับพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ จะดึงดูดให้มีการตั้งถิ่นฐาน กระทั่งชุมชนนั้นขยายตัวเป็นเมือง
ทรัพยากรธรรมชาติเป็นปัจจัยสำคัญอีกประการหนึ่งที่มีอิทธิพลต่อการตั้งถิ่นฐาน ตั้งแต่อดีตมนุษย์อาศัยทรัพยากรธรรมชาติในการดำรงชีวิตและประกอบกิจกรรมทางเศรษฐกิจ พื้นที่ที่มีทรัพยากรอุดมสมบูรณ์จึงดึงดูดให้มีการตั้งถิ่นทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญ ได้แก่ ป่าไม้ สัตว์ป่า สัตว์น้ำ และแร่ธาตุ
2.ความก้าวหน้าในการคิดค้นเทคโนโลยี
การขยายชุมชนเป็นสังคมใหญ่ ทำให้เกิดปัญหาในการจัดสรรทรัพยากรให้เพียงพอสำหรับสมาชิกในชุมชนนั้นๆ ดังนั้นผู้นำของสังคมนั้นๆ จึงจำเป็นต้องประดิษฐ์และค้นหาวิธีการต่างๆ เช่น การคิดค้นระบบชลประทานเพื่อทดน้ำเข้าไปในพื้นที่ที่อยู่ห่างไกลจากริมฝั่งแม่น้ำ เพื่อขยายพื้นที่เพาะปลูก หรือการสร้างอ่างเก็บน้ำเพื่อกักเก็บน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้ง ตลอดจนการสร้างประตูระบายน้ำและทำนบกั้นน้ำเพื่อป้องกันน้ำท่วมพื้นที่เพาะปลูก เทคโนโลยีเหล่านี้นับว่าเป็นความเจริญขั้นสูงที่สร้างความเจริญรุ่งเรืองให้แก่อาณาจักรสมัยโบราณ เช่น อียิปต์ เมโสโปเตเมีย และจีน
นอกจากนี้แล้ว เครื่องทุ่นแรงและเครื่องมือเครื่องใช้ที่มนุษย์ในดินแดนต่างๆ คิดประดิษฐ์ขึ้นมาก็เป็นรากฐานของอารยธรรมด้วย เป็นต้นว่า ความสามารถในการคำนวณและการประดิษฐ์เครื่องทุ่นแรงทำให้เกิดสถาปัตยกรรมสำคัญของโลก เช่น พีระมิดในอียิปต์ กำแพงเมืองจีน และปราสาทหินนครวัดของพวกเขมรโบราณในประเทศกัมพูชาปัจจุบัน
3.ความคิดในการจัดระเบียบสังคม
การอยู่ร่วมกันในสังคมขนาดใหญ่ จำเป็นต้องมีการสร้างกฎเกณฑ์ และระเบียบต่างๆ เพื่อให้ทุกคนได้อยู่ร่วมกันอย่างผาสุก ไม่เบียดเบียน หรือข่มเหงรังแกซึ่งกันและกัน แต่ละสังคมจึงมีการจัดโครงสร้างการปกครอง มีผู้ปกครองซึ่งมีสถานะที่แตกต่างกันตามลักษณะและขนาดของสังคมนั้นๆ เช่น แคว้น รัฐ หรืออาณาจักร และมีผู้อยู่ใต้การปกครอง ซึ่งอาจจำแนกตามอาชีพและฐานะ เช่น พระ ข้าราชการ พ่อค้า แพทย์ กรรมกร ชาวนาน และทาส โดยมีการตรากฎหมายเป็นเครื่องมือในการปกครอง นอกจากนี้ การยอมรับสถานะที่สูงส่งของผู้ปกครอง เช่น ชาวอียิปต์เชื่อว่ากษัตริย์หรือฟาโรห์ของตนเป็นเทพเจ้า และชาวจีนเชื่อว่าจักรพรรดิของตนเป็นโอรสแห่งสวรรค์ก็ทำให้ผู้นำประเทศมีอำนาจจัดการปกครองให้ประชาชนอยู่ร่วมกันภายใต้กฎระเบียบอย่างสันติสุขได้
อนึ่ง เพื่อให้ดินแดนหรือแว่นแคว้นของตนจริญก้าวหน้า ผู้ปกครองดินแดนนั้นยังได้สร้างระบบเศรษฐกิจให้มั่นคง เช่น พวกสุเมเรียนในเมโสโปเตเมียได้คิดค้น จัดเก็ยภาษี รวมทั้งมาตราชั่ง ตวง วัด เพื่อให้การแลกเปลี่ยนสินค้าในอาณาจักรของตนดำเนินไปได้โดยราบรื่น มาตราชั่ง ตวง วัด เป็นเครื่องมือสำคัญของระบบการค้า ซึ่งเป็นระบบที่ทำให้ผู้คนในดินแดนต่างๆ ได้พบปะแลกเปลี่ยนประสบการณ์และเรียนรู้วัฒนธรรมของชนชาติอื่นๆ จนกระทั่งสามารถนำไปพัฒนาให้เกิดอารยธรรมขึ้นได้ในเวลาต่อมา
ความเจริญรุ่งเรืองที่กลายเป็นวัฒนธรรมขั้นสูงหรืออารยธรรมนั้น เกิดขึ้นได้ด้วยความสามารถของมนุษย์ที่คิดค้นระบบและกลไลในการเอาชนะธรรมชาติ หรือใช้ประโยชน์จากธรรมชาติ ดินแดนที่มีอารยธรรมรุ่งงเรืองจึงเจริญก้าวหน้า สามารถขยายอาณาเขตและอำนาจออกไปอย่างกว้างขวาง กลายเป็นอาณาจักรหรือจักรวรรดิที่ยิ่งใหญ่ เช่น อาณาจักรอียิปต์ อาณาจักรเมโสโปเตเมีย จักรวรรดิจีน จัักรวรรดิอินเดียในสมัยราชวงศ์โมกุล จักรวรรดิโรมัน อาณาจักรขอม จักรวรรดิอังกฤษ ฯลฯ อย่างไรก็ตาม อารยธรรมที่เจริญรุ่งเรืองของดินแดนต่างๆ นั้น บางส่วนได้สาบสูญไป เช่น ตำราและวิชาการบางอย่าง ส่วนที่ยังคงดำรงอยู่ก็เป็นมรดกสืบทอดต่อมาทั้งในดินแดนของตนหรือในดินแดนอื่นๆ ที่นำไปถ่ายทอด ทำให้ความเจริญเหล่านั้นสามารถดำรงต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน เช่น กฎหมาย ศาสนา ภาษา ศิลปกรรม สถาปัตยกรรม ดนตรี ฯลฯ ดังนั้นการศึกษาเรื่องราวของอารยธรรมมนุษย์ตั้งแต่ยุคเริ่มแรก จึงเป็นการศึกษาเพื่อให้เข้าใจถึงความเจริญของมนุษยชาติที่มีมาตั้งแต่อดีต และกลายเป็นรากฐานความเจริญของมนุษย์ในสังคมปัจจุบัน เ
เมโสโปเตเมีย
เมโสโปเตเมีย (กรีก: Μεσοποταμία, เมโซโพทาเมีย; อังกฤษ: Mesopotamia) เป็นคำกรีกโบราณ ตามรูปศัพท์แปลว่า "ที่ระหว่างแม่น้ำ" (meso = กลาง + potamia = แม่น้ำ) โดยมีนัยหมายถึง "ดินแดนระหว่างแม่น้ำแม่น้ำไทกริสและยูเฟรทีส" ดินแดนดังกล่าวนี้เป็นส่วนหนึ่งของ "ดินแดนวงพระจันทร์เสี้ยวไพบูลย์" (Fertile Crescent) ซึ่งเป็นดินแดนรูปครึ่งวงกลมผืนใหญ่ ทอดโค้งขึ้นไปจากฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียนไปจรดอ่าวเปอร์เซีย
เมโสโปเตเมียเป็นแหล่งอารยธรรมที่มีความเก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่ง เมโสโปเตเมีย แปลว่า ดินแดนระหว่างแม่น้ำสองสายคือ แม่น้ำไทกรีสและยูเฟรทีส (ปัจจุบันคือดินแดนส่วนใหญ่ของประเทศอิรัก) ระหว่างสองฝั่งแม่น้ำทั้งสองสายเป็นพื้นดินที่มีความอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเพาะปลูก ทำให้กลุ่มชนชาติต่างๆเข้ามาทำมาหากินและสร้างอารยธรรมขึ้น รวมทั้งถ่ายทอดอารยธรรมจากกลุ่มหนึ่งสู่กลุ่มหนึ่ง ทำให้เกิดอารยธรรมแบบผสม
เมโสโปเตเมียเป็นดินแดนที่อากาศร้อนและกันดารฝน น้ำที่ได้รับส่วนใหญ่เป็นน้ำจากแม่น้ำที่มาจากการละลายของหิมะบนเทือกเขาในอาร์มีเนีย น้ำจะพัดพาเอาโคลนตมมาทับถมชายฝั่งทั้งสอง ทำให้พื้นดินอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเพาะปลูก การเอ่อล้นของน้ำอันเกิดจากหิมะละลายไม่มีกำหนดเวลาที่แน่นอนและบางครั้งทำความเสียหายแก่บ้านเมือง ไร่นา ทรัพย์สิน และชีวิตผู้คน การกสิกรรมที่จะได้ผลดีในสภาพแวดล้อมเช่นนี้ต้องอาศัยระบบชลประทานที่มีประสิทธิภาพ
ความอุดมสมบูรณ์ของลุ่มแม่น้ำเป็นสิ่งดึงดูดให้ผู้คนเข้ามาทำมาหากินในบริเวณนี้ แต่ความร้อนของอากาศก็เป็นเครื่องบั่นทอนกำลังของผู้คนที่อาศัยอยู่ทำให้คนเหล่านั้นขาดความกระตือรือร้น เมื่อมีพวกอื่นเข้ารุกรานจึงต้องหลีกทางให้ผู้ที่เข้ามาใหม่ ซึ่งเมื่ออยู่ไปนาน ๆ เข้าก็ประสบภาวะเดียวกันต้องหลีกให้ผู้อื่นต่อไป[ต้องการอ้างอิง] พวกที่เข้ามารุกรานส่วนใหญ่มักจะมาจากบริเวณหุบเขาที่ราบสูงทางภาคเหนือ และตะวันออกซึ่งส่วนใหญ่เป็นเขาหินปูนไม่อุดมสมบูรณ์เท่าเขตลุ่มแม่น้ำ และยังมีพวกที่มาจากทะเลทรายซีเรียและอาระเบีย เรื่องราวของดินแดนแห่งนี้จึงเป็นเรื่องราวที่เกี่ยวกับอารยธรรมของคนกลุ่มต่าง ๆ หลายกลุ่ม มิได้เป็นเรื่องราวของอารยธรรมที่สืบต่อกันเป็นเวลายาวนานดังเช่นอารยธรรมอียิปต์
คนกลุ่มแรกที่สร้างอารยธรรมเมโสโปเตเมียขึ้นคือชาวสุเมเรียน ผู้คิดประดิษฐ์ตัวอักษรขึ้นเป็นครั้งแรกในโลก อารยธรรมที่ชาวสุเมเรียนขึ้นเป็นพื้นฐานสำคัญของอารยธรรมเมโสโปเตเมีย สถาปัตยกรรม ตัวอักษร ศิลปกรรมอื่น ๆ ตลอดจนทัศนคติต่อชีวิตและเทพเจ้าของชาวสุเมเรียน ได้ดำรงอยู่และมีอิทธิพลอยู่ในลุ่มแม่น้ำทั้งสองตลอดช่วงสมัยโบราณ
ที่ตั้งทางภูมิศาสตร์
เมโสโปเตเมียเป็นอู่อารยธรรมที่เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลกสมัยโบราณ โดยตั้งอยู่ระหว่างแม่น้ำ 2 สาย คือ แม่น้ำไทกริส (Tigris) และแม่น้ำยูเฟรทีส (Euphrates) ซึ่งปัจจุบันนี้อยู่ในประเทศอิรักแม่น้ำทั้ง 2 สายมีต้นน้ำอยู่ในอาร์มีเนียและเอเชียไมเนอร์มาบรรจบกันเป็นแม่น้ำชัตต์อัลอาหรับแล้วไหลลงสู่ทะเลที่อ่าวเปอร์เซีย
บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำไทกริสและยูเฟรทีสตอนล่างเรียกว่าบาบิโลเนีย (Babylonia) เป็นเขตซึ่งอยู่ติดกับอ่าวเปอร์เซีย มีชื่อเรียกในสมัยหนึ่งว่าชีนา (Shina) เกิดจากการทับถมของดินที่แม่น้ำพัดพามา กล่าวคือ ในฤดูร้อนหิมะบนภูเขาในอาร์มีเนียละลายไหลบ่าลงมาทางใต้พัดพาเอาโคลนตมมาทับถมไว้ยังบริเวณปากน้ำ ทำให้พื้นดินตรงปากแม่น้ำงอกออกทุกปี โดยเฉลี่ยแล้วประมาณ 1 ไมล์ครึ่งทุก ๆ ศตวรรษ (ประมาณปีละ 29 นิ้วครึ่ง)
อาณาบริเวณที่เรียกว่าเมโสโปเตเมีย มีทิศเหนือจรดทะเลดำและทะเลแคสเปียน ทิศตะวันตกเฉียงใต้จรดคาบสมุทรอาหรับซึ่งล้อมรอบด้วยทะเลแดงและมหาสมุทรอินเดีย ทิศตะวันตกจรดที่ราบซีเรียและปาเลสไตน์ ส่วนทิศตะวันออกจรดที่ราบสูงอิหร่าน
เมโสโปเตเมียแบ่งออกเป็นสองส่วน ส่วนล่างใกล้กับอ่าวเปอร์เซีย มีความอุดมสมบูรณ์เรียกว่าบาบิโลเนีย ส่วนบนซึ่งค่อนข้างแห้งแล้งเรียกว่าอัสซีเรีย (Assyria)[ต้องการอ้างอิง] บริเวณทั้งหมดมีชนชาติหลายเผ่าพันธุ์อาศัยอยู่ มีการรบพุ่งกันอยู่เสมอ เมื่อชาติใดมีอำนาจก็เข้าไปยึดครองและกลายเป็นชนชาติเดียวกัน นักประวัติศาสตร์บางท่านกล่าวว่า ไม่มีแห่งหนตำบลใดจะมีชาติพันธุ์มนุษย์ผสมปนเปกันมากมายเหมือนที่นี่ และยังเป็นยุทธภูมิระหว่างตะวันตกกับตะวันออกตลอดสมัยประวัติศาสตร์ ดังนั้น ประวัติเรื่องราวต่าง ๆ ของชนชาติเหล่านี้จึงค่อนข้างสับสน
เมโสโปเตเมียเป็นแหล่งอารยธรรมที่มีความเก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่ง เมโสโปเตเมีย แปลว่า ดินแดนระหว่างแม่น้ำสองสายคือ แม่น้ำไทกรีสและยูเฟรทีส (ปัจจุบันคือดินแดนส่วนใหญ่ของประเทศอิรัก) ระหว่างสองฝั่งแม่น้ำทั้งสองสายเป็นพื้นดินที่มีความอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเพาะปลูก ทำให้กลุ่มชนชาติต่างๆเข้ามาทำมาหากินและสร้างอารยธรรมขึ้น รวมทั้งถ่ายทอดอารยธรรมจากกลุ่มหนึ่งสู่กลุ่มหนึ่ง ทำให้เกิดอารยธรรมแบบผสม
เมโสโปเตเมียเป็นดินแดนที่อากาศร้อนและกันดารฝน น้ำที่ได้รับส่วนใหญ่เป็นน้ำจากแม่น้ำที่มาจากการละลายของหิมะบนเทือกเขาในอาร์มีเนีย น้ำจะพัดพาเอาโคลนตมมาทับถมชายฝั่งทั้งสอง ทำให้พื้นดินอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเพาะปลูก การเอ่อล้นของน้ำอันเกิดจากหิมะละลายไม่มีกำหนดเวลาที่แน่นอนและบางครั้งทำความเสียหายแก่บ้านเมือง ไร่นา ทรัพย์สิน และชีวิตผู้คน การกสิกรรมที่จะได้ผลดีในสภาพแวดล้อมเช่นนี้ต้องอาศัยระบบชลประทานที่มีประสิทธิภาพ
ความอุดมสมบูรณ์ของลุ่มแม่น้ำเป็นสิ่งดึงดูดให้ผู้คนเข้ามาทำมาหากินในบริเวณนี้ แต่ความร้อนของอากาศก็เป็นเครื่องบั่นทอนกำลังของผู้คนที่อาศัยอยู่ทำให้คนเหล่านั้นขาดความกระตือรือร้น เมื่อมีพวกอื่นเข้ารุกรานจึงต้องหลีกทางให้ผู้ที่เข้ามาใหม่ ซึ่งเมื่ออยู่ไปนาน ๆ เข้าก็ประสบภาวะเดียวกันต้องหลีกให้ผู้อื่นต่อไป[ต้องการอ้างอิง] พวกที่เข้ามารุกรานส่วนใหญ่มักจะมาจากบริเวณหุบเขาที่ราบสูงทางภาคเหนือ และตะวันออกซึ่งส่วนใหญ่เป็นเขาหินปูนไม่อุดมสมบูรณ์เท่าเขตลุ่มแม่น้ำ และยังมีพวกที่มาจากทะเลทรายซีเรียและอาระเบีย เรื่องราวของดินแดนแห่งนี้จึงเป็นเรื่องราวที่เกี่ยวกับอารยธรรมของคนกลุ่มต่าง ๆ หลายกลุ่ม มิได้เป็นเรื่องราวของอารยธรรมที่สืบต่อกันเป็นเวลายาวนานดังเช่นอารยธรรมอียิปต์
คนกลุ่มแรกที่สร้างอารยธรรมเมโสโปเตเมียขึ้นคือชาวสุเมเรียน ผู้คิดประดิษฐ์ตัวอักษรขึ้นเป็นครั้งแรกในโลก อารยธรรมที่ชาวสุเมเรียนขึ้นเป็นพื้นฐานสำคัญของอารยธรรมเมโสโปเตเมีย สถาปัตยกรรม ตัวอักษร ศิลปกรรมอื่น ๆ ตลอดจนทัศนคติต่อชีวิตและเทพเจ้าของชาวสุเมเรียน ได้ดำรงอยู่และมีอิทธิพลอยู่ในลุ่มแม่น้ำทั้งสองตลอดช่วงสมัยโบราณ
ที่ตั้งทางภูมิศาสตร์
เมโสโปเตเมียเป็นอู่อารยธรรมที่เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลกสมัยโบราณ โดยตั้งอยู่ระหว่างแม่น้ำ 2 สาย คือ แม่น้ำไทกริส (Tigris) และแม่น้ำยูเฟรทีส (Euphrates) ซึ่งปัจจุบันนี้อยู่ในประเทศอิรักแม่น้ำทั้ง 2 สายมีต้นน้ำอยู่ในอาร์มีเนียและเอเชียไมเนอร์มาบรรจบกันเป็นแม่น้ำชัตต์อัลอาหรับแล้วไหลลงสู่ทะเลที่อ่าวเปอร์เซีย
บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำไทกริสและยูเฟรทีสตอนล่างเรียกว่าบาบิโลเนีย (Babylonia) เป็นเขตซึ่งอยู่ติดกับอ่าวเปอร์เซีย มีชื่อเรียกในสมัยหนึ่งว่าชีนา (Shina) เกิดจากการทับถมของดินที่แม่น้ำพัดพามา กล่าวคือ ในฤดูร้อนหิมะบนภูเขาในอาร์มีเนียละลายไหลบ่าลงมาทางใต้พัดพาเอาโคลนตมมาทับถมไว้ยังบริเวณปากน้ำ ทำให้พื้นดินตรงปากแม่น้ำงอกออกทุกปี โดยเฉลี่ยแล้วประมาณ 1 ไมล์ครึ่งทุก ๆ ศตวรรษ (ประมาณปีละ 29 นิ้วครึ่ง)
อาณาบริเวณที่เรียกว่าเมโสโปเตเมีย มีทิศเหนือจรดทะเลดำและทะเลแคสเปียน ทิศตะวันตกเฉียงใต้จรดคาบสมุทรอาหรับซึ่งล้อมรอบด้วยทะเลแดงและมหาสมุทรอินเดีย ทิศตะวันตกจรดที่ราบซีเรียและปาเลสไตน์ ส่วนทิศตะวันออกจรดที่ราบสูงอิหร่าน
เมโสโปเตเมียแบ่งออกเป็นสองส่วน ส่วนล่างใกล้กับอ่าวเปอร์เซีย มีความอุดมสมบูรณ์เรียกว่าบาบิโลเนีย ส่วนบนซึ่งค่อนข้างแห้งแล้งเรียกว่าอัสซีเรีย (Assyria)[ต้องการอ้างอิง] บริเวณทั้งหมดมีชนชาติหลายเผ่าพันธุ์อาศัยอยู่ มีการรบพุ่งกันอยู่เสมอ เมื่อชาติใดมีอำนาจก็เข้าไปยึดครองและกลายเป็นชนชาติเดียวกัน นักประวัติศาสตร์บางท่านกล่าวว่า ไม่มีแห่งหนตำบลใดจะมีชาติพันธุ์มนุษย์ผสมปนเปกันมากมายเหมือนที่นี่ และยังเป็นยุทธภูมิระหว่างตะวันตกกับตะวันออกตลอดสมัยประวัติศาสตร์ ดังนั้น ประวัติเรื่องราวต่าง ๆ ของชนชาติเหล่านี้จึงค่อนข้างสับสน
อารยธรรมอียิปต์
อารยธรรมอียิปต์
อารยธรรมอียิปต์เริ่มขึ้นเมื่อประมาณ 3500 ปีก่อนคริสต์ศักราชหรือ 5500 ปีมาแล้ว ในบริเวณลุ่มแม่น้ำไนล์ทางตอนเหนือของทวีปแอฟริกา เป็นอารยธรรมที่มีความเจริญรุ่งเรืองในด้านต่างๆ และมีพัฒนาการสืบเนื่องต่อมาหลายพันปี
1.ปัจจัยที่ส่งเสริมการหล่อหลอมอารยธรรมอียิปต์
อารยธรรมอียิปต์ได้ชื่อว่าเป็นของขวัญจากแม่น้ำไนล์ (The girt of the Nile) เนื่องจากลักษณะที่ตั้งของอียิปต์และสภาพภูมิศาสตร์ในลุ่มแม่น้ำไนล์มี อิทธิพลต่อการดำรงชีวิต การประกอบอาชีพ และการสร้างสรรค์อารยธรรมอียิปต์ นอกจากนี้แล้ว ระบอบการปกครองตลอดจนภูมิปัญญาของชาวอียิปต์ก็เป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งเสริม การสร้างสรรค์อารยธรรมของอียิปต์
ที่ตั้ง สภาพภูมิศาสตร์ของอียิปต์โดยทั่วไปมีลักษณะร้อนและแห้งแล้ง พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นเขตทะเลทรายซึ่งไม่เอื้อต่อการเพาะปลูก ยกเว้นบริเวณ 2 ฝั่งแม่น้ำไนล์ที่มักมีน้ำท่วมขังเป็นประจำในช่วงฤดูฝน น้ำฝนและหิมะที่ละลายจากยอดเขาจะไหลจากต้นแม่น้ำไนล์ และท่วมล้นสองฝั่งแม่น้ำตั้งแต่เดือนกันยายนของทุกปีตะกอนและโคลนที่น้ำพัด พามาได้กลายเป็นปุ๋ยที่ดีสำหรับการเพาะปลูกบริเวณที่ลุ่มริมฝั่งแม่น้ำ อย่างไรก็ตามลักษณะธรรมชาติดังกล่าวนี้ช่วยให้ชาวอียิปต์เพาะปลูกได้เพียงปี ละครั้งเท่านั้น ดังนั้นจึงจำต้องใช้ภูมิปัญญาแก้ไขข้อจำกัดของสภาพภูมิศาสตร์ด้วยการขุดคลอง ขนาดสั้นๆ เพื่อส่งน้ำเข้าไปในเขตทะเลทรายที่แห้งแล้งจนสามารถขยายพื้นที่เพาะปลูก และทำการเพาะปลูกได้ปีละ 2-3 ครั้ง นอกจากนี้ผู้นำชาวอียิปต์โบราณยังใช้วิธีคำนวณจัดแบ่งที่ดินที่สามารถเพาะ ปลูกได้ให้กับประชาชนอย่างทั่วถึง กล่าวได้ว่าการทำชลประทานและระบบจัดสรรที่ดินช่วยให้ชาวอียิปต์ตั้งถิ่นฐาน อยู่ในดินแดนที่แห้งแล้งได้ต่อเนื่องนานถึง 6000 ปี โดยไม่ต้องอพยพละทิ้งถิ่นฐานไปแสวงหาที่ทำกินใหม่เหมือนชนชาติอื่น
อนึ่ง ลักษณะที่ตั้งของอียิปต์ซึ่งถูกปิดล้อมด้วยพรมแดนธรรมชาติที่สำคัญ คือทะเลและทะเลทราย ก็ช่วยป้องกันการรุกรานจากภายนอก ทำให้ชาวอียิปต์สามารถพัฒนาและหล่อหลอมอารยธรรมได้ต่อเนื่องยาวนานและมี เอกลักษณ์ของตนเอง
5514ทรัพยากรธรรมชาติ แม้ว่าพื้นที่ส่วนใหญ่ของอียิปต์จะเป็นทะเลทรายที่แห้งแล้ง แต่บริเวณสองฝั่งแม่น้ำไนล์ก็ประกอบด้วยหินแกรนิตและหินทราย ซึ่งเป็นวัสดุสำคัญที่ชาวอียิปต์ใช้ในการก่อสร้างและพัฒนาความเจริญ รุ่งเรืองทางด้านสถาปัตยกรรม วัสดุเหล่านี้มีความคงทนแข็งแรงและช่วยรักษามรดกทางด้านอารยธรรมของอียิปต์ ให้ปรากฏแก่ชาวโลกมาจนกระทั่งทุกวันนี้ นอกจากนี้ ต้นอ้อโดยเฉพาะปาปิรุส ซึ่งขึ้นชุกชุมบริเวณสองฝั่งแม่น้ำไนล์ก็เป็นวัสดุธรรมชาติสำคัญที่ชาวอียิปต์ใช้ทำกระดาษทำให้เกิความก้าวหน้าในการบันทึกและสร้างผลงานด้านวรรณกรรม
542ระบอบการปกครอง จักรวรรดิ อียิปต์มีระบอบการปกครองที่มั่นคง ชาวอียิปต์ยอมรับอำนาจและเคารพนับถือฟาโรห์หรือกษัตริย์ของตนประดุจเทพเจ้าองค์หนึ่ง ดังนั้นฟาโรห์จึงมีอำนาจเด็จขาดในการปกครองและบริหารประเทศทั้งด้านการเมือง และศาสนา โดยมีขุนนางเป็นผู้ช่วยในด้านการปกครอง และมีพระเป็นผู้ช่วยด้านศาสนา การที่ฟาโรห์มีอำนาจเด็จขาดสูงสุดทำให้อียิปต์พัฒนาอารยธรรมของตนได้ต่อ เนื่อง เพราะฟาโรห์สามารถสร้างสรรค์และพัฒนาความเจริญตามแนวนโยบายของตนได้เต็มที่ เช่น การพัฒนาพื้นที่การเกษตรในเขตทะเลทรายที่แห้งแล้งด้วยการคิดค้นระบบชลประทาน การสร้างพีระมิดหรือสุสานขนาดใหญ่ไว้เพื่อเก็บศพของฟาโรห์ตามความเชื่อทางศา นาของชาวอียิปต์เรื่องโลกหลังความตายและการมีวิญญาณเป็นอมตะ และการคิดค้นปฏิทินเพื่อกำหนดฤดูกาลสำหรับการไถหว่านและเก็บเกี่ยว
ภูมิปัญญาของชาวอียิปต์ ชาวอียิปต์เป็นชนชาติที่มีความสามารถในการคิดค้นเทคโนโลยีและวิทยาการความเจริญ ด้านต่างๆ เพื่อตอบสนองการดำรงชีวิต ความเชื่อทางศาสนาและการสร้างความเจริญรุ่งเรืองให้แก่จักรวรรดิอียิปต์ เช่น ความรู้ทางคณิตศาสตร์ เรขาคณิต และฟิสิกส์ ได้ส่งเสริมความเจริญในด้านการก่อสร้างและสถาปัตยกรรม ความรู้ด้านดาราศาสตร์ช่วยให้ชาวอียิปต์ประดิษฐ์ปฏิทินรุ่นแรกๆของโลก ความสามารถในการประดิษฐ์อักษรที่เรียกว่า “ไฮโรกลิฟิก” (Hieroglyphic) ทำให้เกิดการบันทึกเรื่องราวที่เกี่ยวกับศาสนาและฟาโรห์ และความเจริญทางการแพทย์ก็ทำให้ชาวอียิปต์สามารถคิดค้นวิธีผ่าตัดเพื่อรักษา ผู้ป่วย ตลอดจนใช้น้ำยารักษาศพไม่ให้เน่าเปื่อย (มัมมี่) ความเจริญเหล่านี้ทำให้สังคมอียิปต์เจริญรุ่งเรืองต่อเนื่องหลายพันปี สามารถหล่อหลอมอารยธรรมของตนให้ก้าวหน้าและเป็นรากฐานของอารยธรรมตะวันตกใน เวลาต่อมา
เกร็ดความรู้ การทำมัมมี่ เริ่ม จากนำศพมาทำความสะอาด ล้วงเอาอวัยวะภายในออกโดยการใช้ตะขอที่ทำด้วยสำริดเกี่ยวเอาสมองออกทางโพรง จมูก ใช้มีดกรีดข้างลำตัว เพื่อล้วงเอาอวัยวะออกจากศพ เหลือเพียงหัวใจไว้ จากนั้นนำขี้เลือย เศษผ้าลินิน โคลน และเครื่องหอมใส่เข้าไปแทนที่ อวัยวะภายในซึ่งจะถูกนำไปล้างด้วยไวน์ปาล์ม แล้วบรรจุลงในภาชนะสี่เหลี่ยมมีฝาปิด ส่วนร่างจะนำไปดองเกลือ 7-10 วัน แล้วนำมาเคลือบน้ำมันสน ตกแต่งพันศพด้วยผ้าลินินสีขาวชุบเรซิน บรรจุลงหีบศพพร้อมกับเครื่องรางของขลังต่างๆ รวมถึงหน้ากากจำลองใบหน้าของผู้ตายใส่ในหีบศพอีกด้วย
2.ความเจริญรุ่งเรืองของอาณาจักรอียิปต์
อาณาจักรอียิปต์ก่อตัวขึ้นเมื่อประมาณ 3100 ปีก่อนคริสต์ศักราช และมีความเจริญรุ่งเรืองต่อเนื่องมาเกือบ 3000 ปี มีราชวงศ์ปกครองประมาณ 30 ราชวงศ์ อาณาจักรอียิปต์แบ่งช่วงการปกครองเป็น 4 สมัย คือ สมัยราชอาณาจักรเก่า สมัยราชอาณาจักรกลาง สมัยราชอาณาจักรใหม่ และสมัยเสื่อมอำนาจ อย่างไรก็ตามไม่มีหลักฐานประเภทลายลักษณ์ระบุช่วงเวลาของแต่ละสมัยไว้ชัดเจน นักประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่จึงกำหนดช่วงเวลาโดยวิธีการประมาณการ
สมัยราชอาณาจักรเก่า (The Old Kingdom) สมัยราชอาณาจักรเก่ามีความเจริญรุ่งเรืองในช่วงประมาณปี 2700-2200 ก่อนคริสต์ศักราช เป็นสมัยที่อียิปต์มีความเจริญก้าวหน้าในด้านวิทยาศาสตร์และศิลปกรรม มีการก่อสร้างพีระมิดซึ่งถือว่าเป็นเอกลักษณ์โดดเด่นของอารยธรรมอียิปต์ ช่วงปลายสมัยนี้บ้านเมืองเกิดการจลาจลวุ่นวายเนื่องจากรัฐบาลกลางเสื่อม อำนาจนานประมาณ 150 ปี56
สมัยราชอาณาจักรกลาง (The Middle Kingdom) สมัยราชอาณาจักกลาง ฟาโรห์มีอำนาจปกครองอยู่ในช่วงราวปี 2015-1652 ก่อนคริสต์ศักราช ในสมัยราชอาณาจักรกลางนี้ อียิปต์มีความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาการและภูมิปัญญามากโดยเฉพาะด้านการชล ประทาน ดังนั้นจึงได้รับการยกย่องว่าเป็นยุคทองของอียิปต์ อย่างไรก็ตาม ในช่วงปลายสมัยนี้เกิดความวุ่นวายในประเทศ จนต่างชาติเข้ามารุกรานและปกครองอียิปต์
สมัยราชอาณาจักรใหม่ (The New Kingdom) ชาว อียิปต์สามารถขับไล่ชาวต่างชาติและกลับมาปกครองดินแดนของตนอีกครั้งหนึ่ง ในช่วงประมาณปี 1567-1085 ก่อนคริสต์ศักราช จึงเรียกช่วงการปกครองสมัยนี้ว่าสมัยราชอาณาจักรใหม่ สมัยนี้ฟาโรห์มีอำนาจเด็ดขาจในการปกครองและขยายอาณาเขตเหนือดินแดนใกล้เคียง จนเป็นจักรวรรดิอียิปต์
สมัยเสื่อมอำนาจ (The Decline) จักรวรรดิอียิปต์เสื่อมอำนาจตั้งแต่ประมาณปี 1100 ก่อนคริสต์ศักราช ในสมัยนี้ชาวต่างชาติ เช่น พวกแอลซีเรียนและพวกเปอร์เซียจากเอเชีย รวมทั้งชนชาติในแอฟริกาได้เข้ารุกรานอียิปต์และปกครองบางส่วนของอียิปต์ แต่ฟาโรห์ของอียิปต์ก็ยังคงปกครองดินแดนของตนต่อมาจนถึงประมาณปี 300 ก่อนคริสต์ศักราช ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่อาณาจักรอียิปต์เสื่อมสลายและถูกชาวต่างชาติยึดครอง
3.ความรุ่งเรืองของอารยธรรมอียิปต์
ชาวอียิปต์ได้สร้่างความเจริญให้แก่ชาวโลกเป็นจำนวนมาก อารยะรรมส่วนใหญ่เกิดจากการสร้างสรรค์โดยภูมิปัญญาของชาวอียิปต์ ซึ่งได้ประดิษฐ์และคิดค้นความเจริญด้านต่างๆ เพื่อตอบสนองความจำเป็นในการดำเนินชีวิตและความเชื่อทางศาสนา
ศาสนา ศาสนามีอิธิพลสำคัญต่อการดำเนินชีวิตและการสร้างสรรค์อารยธรรมอียิปต์ ความเชื่อทางศาสนาของชาวอียิปต์ผูกพันกับธรรมชาติและสภาพภูมิศาสตร์ จะเห็นได้ว่าชาวอียิปต์นับถือเทพเจ้าหลายองค์ทั้งที่เป็นสรรพสิ่งตามธรรมชาติและวิญญาณของอดีตฟาโรห์ โดยบูชาสัตว์ต่างๆ เช่น แมว สุนัข หมาใน วัว เหยี่ยว แกะ ฯลฯ เพราะเชื่อว่าสัตว์เหล่านั้นเป็นที่สิงสถิตของเทพซึ่งพิทักษ์มนุษย์ แต่เทพเจ้าที่เชื่อว่ามีอำนาจปกครองจักรวาลคือ เร หรือ รา (Re or Ra) ซึ่งเป็นเทพแห่งดวงอาทิตย์และเป็นหัวหน้าแห่งเทพเจ้าทั้งปวง โอริซิส (Orisis) ซึ่งเป็นเทพแห่งแม่น้ำไนล์ผู้บันดาลความอุดมสมบูรณ์ให้แก่อียิปต์และเป็นผู้พิทักษ์ดวงวัญญาณหลังความตาย และไอซิส ซึ่งเป็นเทวีผู้สร้างและชุบชีวิตคนตาย และยังเป็นชายาของเทพโอริซิสอีกด้วย ชาวอียิปต์นับถือฟาโรห์ของตนเสมือนเทพเจ้าองค์หนึ่งและเชื่อว่าวิญญาณเป็นอมตะ จึงสร้างสุสานขนาดใหญ่หรือพีระมิดสำหรับเก็บร่างกายที่ทำให้ไม่เน่าเปื่อยด้วยวิธีการมัมมี่ เพื่อรองรับวิญญาณที่จะกลับคืนมา อนึ่ง ความเชื่อทางศาสนายังทำให้เกิดกาารบันทึกเรื่องราวเกี่ยวกับความเชื่อ และพิธีกรรมตามสถานที่ต่างๆ ที่สำคัญได้แก่คัมภีร์ของผู้ตายหรือคัมภีร์มรณะ (Book of The Dead) ซึ่งอธิบายผลงานและคุณความดีในอดีตของดวงวิญญาณที่รอรับการตัดสินของเทพโอริซิส บันทึกเหล่านี้ช่วยให้เข้าใจถึงวิถีชีวิตชาวอียิปต์และพัฒนาการของอารยธรรมด้านต่างๆ ได้ดี
กล่าวได้ว่า ศาสนามีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมอำนาจการปกครองของสถาบันกษัตริย์อียิปต์ เป็นการสร้างความชอบธรรมให้แก่สถานะและอำนาจของฟาโรห์ นอกจากนี้ความเชื่อทางศาสนาของชาวอียิปต์ยังส่งเสริมให้เกิดความเจริญทางด้านวิทยาการด้านต่างๆ และศิลปกรรมอีกด้วย
ความเจริญด้านวิทยาการ ชาวอียิปต์สั่งสมความเจริญทางวิทยาการต่างๆ ให้แก่ชาวโลกหลายแขนง ที่สำคัยได้แก่ ควมาเจิญด้านดาราศาสตร์ คณิตศาสตร์ การแพทย์ และอักษรศาสตร์
ด้านดาราศาสตร์ เกิดจากการสังเกตปรากฏการ์ณที่น้ำในแม่น้ำไนล์หลากท่วมล้นตลิ่ง เมื่อน้ำลดแล้วพื้นดินก็มีความเหมาะสมที่จะเพาะปลูก หลังจากชาวนาเก็บเกี่ยวพืชผลแล้วน้ำในแม่น้ำไนล์ก็กลับมาท่วมอีก หมุนเวียนเช่นนี้ตลอดไป ชาวอียิปต์ได้นำความรู้จากประสบการ์ณดังกล่าวไปคำนวณปฏิทิน นับรวมเป็น 1 ปี มี 12 ดือน ในรอบ 1 ปียังบ่งเป็น 3 ฤดูที่กำหนดตามวิถีการประกอบอาชีพ คือ ฤดูน้ำท่วม ฤดูไถหว่าน และฤดูเก้บเกี่ยว
ด้านคณิตศาสตร์ โดยเฉพาะการคำนวณขั้นพื้นฐาน ได้แก่ การบวก ลบ และหาร และการคำนวณพื้นที่วงกลม สี่เหลี่ยม และสามเหลี่ยม ความรู้ ดังกล่าวเป็นฐานของวิชาฟิสิกส์ ซึ่งชาวอียิปต์ใช้คำนวณในการก่อสร้างพีระมิด วิหาร เสาหินขนาดใหญ่ ฯลฯ
ด้านการแพทย์ มี ความก้าวหน้าทางด้านการแพทย์มาก เอกสารที่บันทึกเมื่อ 1700 ปีก่อนคริสต์ศักราช ระบุว่าอียิปต์มีผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์หลายสาขา เช่น ทันตแพทย์ ศัลยแพทย์ และแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับกระเพาะอาหาร ในสมัยนี้แพทย์อียิปต์สามารถผ่าตัดคนไข้แบบง่ายๆ ได้แล้ว นอกจากนี้ยังคิดค้นวิธีปรุงยารักษาโรคต่างๆ ได้จำนวนมาก โดยรวบรวมเป็นตำราเล่มแรก ซึ่งต่อมาถูกนำไปใช้กันแพร่หลายในทวีปยุโรป
ด้านอักษรศาสตร์ อักษรไฮโรกลิฟิกเป็นอักษรรุ่นแรกที่อียิปต์ประดิษฐ์ขึ้นเมื่อประมาณปี 3100 ปีก่อนคริสต์ศักราช เป็นอักษรภาพแสดงลักษณ์ต่างๆ ต่อมามีการพัฒนาตัวอักษรเป็นแบบพยัญชนะ ในระยะแรก ชาวอียิปต์จารึกเรื่องราวด้วยการแกะสลักอักษรไว้ตามกำแพงและผนังของสิ่งก่อ สร้าง เช่น วิหารและพีระมิด ต่อมาค้นพบวิธีทำกระดาษจากต้นปาปิรุส ทำให้มีการบันทึกแพร่หลายมากขึ้น ความก้าวหน้าทางอักษรศาสตร์จึงเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่ทำให้ชาวโลก ทราบถึงความเจริญและความต่อเนื่องของอารยธรรมอียิปต์
ศิลปกรรม ศิลปกรรมของอียิปต์ที่โดเด่น ได้แก่ สถาปัตยกรรมและประติมากรรมซึ่งมีอยู่เป็นจำนวนมาก ส่วนใหญ่ยังปรากฏหลักฐานและร่องรอยอยู่ในปัจจุบัน
สถาปัตยกรรม เอกลักษณ์ของสถาปัตยกรรมอียิปต์คือพีระมิด ซึ่งสร้างขึ้นด้วยจุดประสงค์ทางศาสนาและอำนาจทางการปกครอง ด้วยความเชื่อทางศาสนา ฟาโรห์ของอียิปต์จึงสร้างพีระมิดสำหรับหรับตนเอง สันนิษฐานว่า พีระมิดรุ่นแรกๆ สร้างขึ้นราวปี 2770 ก่อนคริสต์ศักราช ความยิ่งใหญ่ของพีระมิดสะท้อนถึงอำนาจของฟาโรห์ ความสามารถในการออกแบบและก่อสร้างของชาวอียิปต์ เช่น พีระมิดแห่งเมืองกิซา (Giza) ซึ่งใช้แรงงานคนถึง 100000 คน ทำการก่อสร้างพีระมิดขนาดความสูง 137 เมตร เป็นเวลานานถึง 20 ปี โดยใช้หินทรายตัดเป็นก้อนสี่เหลี่ยม น้ำหนักขนาด 2.2-2.5 ตัน รวมประมาณ 2 ล้านก้อนเป็นวัสดุก่อสร้าง
นอกจากพีระมิดแล้ว อียิปต์ยังสร้างวิหารจำนวนมาก เพื่อบูชาเทพเจ้าแต่ละองค์และเทพประจำท้องถิ่นภายในวิหารมักจะประดับด้วยเสาหินขยาดใหญ่ซึ่งแกะสลักลวดลายอย่างงดงาม วิหารที่สำคัญและยิ่งใหญ่ของอียิปต์ ได้แก่ วิหารแห่งเมืองคาร์นัก (Karnak) และวิหารแห่งเมืองลักซอร์ (Luxor)
ประติมากรรม ชาวอียิปต์สร้างผลงานประติมากรรมไว้จำนวนมาก ทั้งที่เป็นรูปปั้นและภาพสลัก ส่วนใหญ่ประดับอยู่ในพีระมิดและวิหาร ที่พบในพีระมิดมักเป็นรูปปั้นของฟาโรห์และมเหสี ภาพสลักที่แสดงถึงเรื่องราวต่างๆ และวิถีชีวิตของชาวอียิปต์ ส่วนในวิหารมักเป็นรูปปั้นสัญลักษณ์ของเทพและสัตว์ศักดิ์สิทธิ์ที่นับถือ เช่น สุนัข แมว เหยี่ยว ฯลฯ และภาพสลักที่แสดงเรื่องราวและเหตุการณ์
imagesจิตรกรรม ชาวอียิปต์มีผลงานด้านจิตรกรรมจำนวนมาก มักพบในพีระมิดและสุสานต่างๆ ภาพวดของชาวอียิปต์ส่วนใหญ่มีสีสันสดใส มีทั้งภาพสัญลักษณ์ของเทพเจ้าที่ชาวอียิปต์นับถือ พระราชกรณียกิจของฟาโรห์และสมาชิกในราชวงศ์ ภาพบุคคลทั่วไปและภาพ ที่สะท้อนวิถีชีวิตของชาวอียิปต์ เช่น การประกอบเกษตรกรรม
download (1)ความเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจ ความรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจทำให้จักรวรรดิอียิปต์มั่นคงก้าวหน้าต่อเนื่องเป็นเวลา หลายพันปี และเป็นพื้นฐานของระบบเศรษฐกิจอียิปต์ปัจจุบัน ความรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจของอียิปต์ประกอบด้วยเกษตรกรรม พาณิชยกรรม และอุตสาหกรรม
เกษตรกรรม เป็น รากฐานทางเศรษฐกิจของจักรวรรดิอียิปต์ ประชากรส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรที่อาศัยน้ำจากแม่น้ำไนล์ในการเพาะปลูก ทำให้มีการคิดค้นระบบชลประทน ทำคลองส่งน้ำจากแม่น้ำไนล์เข้าไปยังพื้นที่ที่ห่างจากฝั่ง ระบบชลประทานจึงเป็นเทคโนโลยีสำคัยที่ช่วยให้เกษตรกรอียิปต์ดำเนินการเพาะ ปลูกพืชสำหรับบริโภคภายในจักรวรรดิและพืชเศรษฐกิจอื่นๆได้ต่อเนื่อง ไม่ต้องละทิ้งถิ่นฐานไปแสวงหาดินแดนที่อุดมสมบูรณ์มากกว่า อนึ่ง ผลิตผลทางเกษตรที่สำคัญของชาวอียิปต์ ได้แก่ ข้าวสาลี ข้าวบาร์เลย์ ข้าวฟ่าง ผัก ผลไม้ ปอ และฝ้าย
พาณิชยกรรม จักรวรรดิอียิปต์ติดต่อค้าขายกับดินแดนอื่นๆ ตั้งแต่ประมาณ 2000 ปีก่อนคริสต์ศักราช ดินแดนที่ติดต่อค้าขายเป็นประจำ ได้แก่ เกาะครีต (Crete) และดินแดนเมโสโปเตเมีย โดยเฉพาะฟีนิเชีย ปาเลสไตน์ และซีเรีย สินค้าส่งออกที่สำคัญของอียิปต์คือ ทองคำ ข้าวสาลี และผ้าลินิน ส่วนสินค้าที่นำเข้าที่สำคัญ ได้แก่ แร่เงิน งาช้าง และไม้ซุง
อุตสาหกรรม อียิปต์เริ่มพัฒนาอุตสาหกรรมตั้งแต่ประมาณ 3000 ปีก่อนคริสต์ศักราช ปัจจัยสำคัญที่ทำให้อุตสาหกรมมของอียิปต์เติบโตคือ การมีช่างฝีมือและแรงงานจำนวนมาก มีเทคโนโลยีและวิทยาการที่ก้าวหน้า มีวัตถุดิบ และมีการติดต่อค้าขายกับดินแดนอื่นๆ อย่างกว้างขวาง ดังนั้นอียิปต์จึงสามารถพัฒนาระบบอุตสาหกรรมที่ผลิตสินค้าได้จำนวนมาก อุตสาหกรรมที่สำคัญ ได้แก่ การทำเหมืองแร่ การต่อเรือ การทำเครื่องปั้นดินเผา การทำเครื่องแก้ว และการทอผ้าลินิน
ความรุ่งเรืองมั่งคั่ง ทำให้จักรวรรดิอียิปต์สามารถสั่งสมและหล่อหลอมอารยธรรมของตนให้เจริญก้าว หน้าต่อเนื่องมายาวนาน ดินแดนอียิปต์จึงเป็นที่หมายปองของประเทศเพื่อนบ้านที่พยายามขยายอิทธิพล เข้าครอบครองดินแดนแห่งนี้ อย่างไรก็ตาม แม้จักรวรรดิอียิปต์เสื่อมสลายไปในช่วงก่อนคริสต์ศักราชแล้ง แต่อารยะรรมอียิปต์มิได้เสื่อมสลายไปด้วย หากกลายเป็นมรดกตกทอดที่ชนรุ่นหลังนำมาพัฒนาเป็นอารยธรรมของมนุษยชาติในปัจจุบัน
อารยธรรมอียิปต์เริ่มขึ้นเมื่อประมาณ 3500 ปีก่อนคริสต์ศักราชหรือ 5500 ปีมาแล้ว ในบริเวณลุ่มแม่น้ำไนล์ทางตอนเหนือของทวีปแอฟริกา เป็นอารยธรรมที่มีความเจริญรุ่งเรืองในด้านต่างๆ และมีพัฒนาการสืบเนื่องต่อมาหลายพันปี
1.ปัจจัยที่ส่งเสริมการหล่อหลอมอารยธรรมอียิปต์
อารยธรรมอียิปต์ได้ชื่อว่าเป็นของขวัญจากแม่น้ำไนล์ (The girt of the Nile) เนื่องจากลักษณะที่ตั้งของอียิปต์และสภาพภูมิศาสตร์ในลุ่มแม่น้ำไนล์มี อิทธิพลต่อการดำรงชีวิต การประกอบอาชีพ และการสร้างสรรค์อารยธรรมอียิปต์ นอกจากนี้แล้ว ระบอบการปกครองตลอดจนภูมิปัญญาของชาวอียิปต์ก็เป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งเสริม การสร้างสรรค์อารยธรรมของอียิปต์
ที่ตั้ง สภาพภูมิศาสตร์ของอียิปต์โดยทั่วไปมีลักษณะร้อนและแห้งแล้ง พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นเขตทะเลทรายซึ่งไม่เอื้อต่อการเพาะปลูก ยกเว้นบริเวณ 2 ฝั่งแม่น้ำไนล์ที่มักมีน้ำท่วมขังเป็นประจำในช่วงฤดูฝน น้ำฝนและหิมะที่ละลายจากยอดเขาจะไหลจากต้นแม่น้ำไนล์ และท่วมล้นสองฝั่งแม่น้ำตั้งแต่เดือนกันยายนของทุกปีตะกอนและโคลนที่น้ำพัด พามาได้กลายเป็นปุ๋ยที่ดีสำหรับการเพาะปลูกบริเวณที่ลุ่มริมฝั่งแม่น้ำ อย่างไรก็ตามลักษณะธรรมชาติดังกล่าวนี้ช่วยให้ชาวอียิปต์เพาะปลูกได้เพียงปี ละครั้งเท่านั้น ดังนั้นจึงจำต้องใช้ภูมิปัญญาแก้ไขข้อจำกัดของสภาพภูมิศาสตร์ด้วยการขุดคลอง ขนาดสั้นๆ เพื่อส่งน้ำเข้าไปในเขตทะเลทรายที่แห้งแล้งจนสามารถขยายพื้นที่เพาะปลูก และทำการเพาะปลูกได้ปีละ 2-3 ครั้ง นอกจากนี้ผู้นำชาวอียิปต์โบราณยังใช้วิธีคำนวณจัดแบ่งที่ดินที่สามารถเพาะ ปลูกได้ให้กับประชาชนอย่างทั่วถึง กล่าวได้ว่าการทำชลประทานและระบบจัดสรรที่ดินช่วยให้ชาวอียิปต์ตั้งถิ่นฐาน อยู่ในดินแดนที่แห้งแล้งได้ต่อเนื่องนานถึง 6000 ปี โดยไม่ต้องอพยพละทิ้งถิ่นฐานไปแสวงหาที่ทำกินใหม่เหมือนชนชาติอื่น
อนึ่ง ลักษณะที่ตั้งของอียิปต์ซึ่งถูกปิดล้อมด้วยพรมแดนธรรมชาติที่สำคัญ คือทะเลและทะเลทราย ก็ช่วยป้องกันการรุกรานจากภายนอก ทำให้ชาวอียิปต์สามารถพัฒนาและหล่อหลอมอารยธรรมได้ต่อเนื่องยาวนานและมี เอกลักษณ์ของตนเอง
5514ทรัพยากรธรรมชาติ แม้ว่าพื้นที่ส่วนใหญ่ของอียิปต์จะเป็นทะเลทรายที่แห้งแล้ง แต่บริเวณสองฝั่งแม่น้ำไนล์ก็ประกอบด้วยหินแกรนิตและหินทราย ซึ่งเป็นวัสดุสำคัญที่ชาวอียิปต์ใช้ในการก่อสร้างและพัฒนาความเจริญ รุ่งเรืองทางด้านสถาปัตยกรรม วัสดุเหล่านี้มีความคงทนแข็งแรงและช่วยรักษามรดกทางด้านอารยธรรมของอียิปต์ ให้ปรากฏแก่ชาวโลกมาจนกระทั่งทุกวันนี้ นอกจากนี้ ต้นอ้อโดยเฉพาะปาปิรุส ซึ่งขึ้นชุกชุมบริเวณสองฝั่งแม่น้ำไนล์ก็เป็นวัสดุธรรมชาติสำคัญที่ชาวอียิปต์ใช้ทำกระดาษทำให้เกิความก้าวหน้าในการบันทึกและสร้างผลงานด้านวรรณกรรม
542ระบอบการปกครอง จักรวรรดิ อียิปต์มีระบอบการปกครองที่มั่นคง ชาวอียิปต์ยอมรับอำนาจและเคารพนับถือฟาโรห์หรือกษัตริย์ของตนประดุจเทพเจ้าองค์หนึ่ง ดังนั้นฟาโรห์จึงมีอำนาจเด็จขาดในการปกครองและบริหารประเทศทั้งด้านการเมือง และศาสนา โดยมีขุนนางเป็นผู้ช่วยในด้านการปกครอง และมีพระเป็นผู้ช่วยด้านศาสนา การที่ฟาโรห์มีอำนาจเด็จขาดสูงสุดทำให้อียิปต์พัฒนาอารยธรรมของตนได้ต่อ เนื่อง เพราะฟาโรห์สามารถสร้างสรรค์และพัฒนาความเจริญตามแนวนโยบายของตนได้เต็มที่ เช่น การพัฒนาพื้นที่การเกษตรในเขตทะเลทรายที่แห้งแล้งด้วยการคิดค้นระบบชลประทาน การสร้างพีระมิดหรือสุสานขนาดใหญ่ไว้เพื่อเก็บศพของฟาโรห์ตามความเชื่อทางศา นาของชาวอียิปต์เรื่องโลกหลังความตายและการมีวิญญาณเป็นอมตะ และการคิดค้นปฏิทินเพื่อกำหนดฤดูกาลสำหรับการไถหว่านและเก็บเกี่ยว
ภูมิปัญญาของชาวอียิปต์ ชาวอียิปต์เป็นชนชาติที่มีความสามารถในการคิดค้นเทคโนโลยีและวิทยาการความเจริญ ด้านต่างๆ เพื่อตอบสนองการดำรงชีวิต ความเชื่อทางศาสนาและการสร้างความเจริญรุ่งเรืองให้แก่จักรวรรดิอียิปต์ เช่น ความรู้ทางคณิตศาสตร์ เรขาคณิต และฟิสิกส์ ได้ส่งเสริมความเจริญในด้านการก่อสร้างและสถาปัตยกรรม ความรู้ด้านดาราศาสตร์ช่วยให้ชาวอียิปต์ประดิษฐ์ปฏิทินรุ่นแรกๆของโลก ความสามารถในการประดิษฐ์อักษรที่เรียกว่า “ไฮโรกลิฟิก” (Hieroglyphic) ทำให้เกิดการบันทึกเรื่องราวที่เกี่ยวกับศาสนาและฟาโรห์ และความเจริญทางการแพทย์ก็ทำให้ชาวอียิปต์สามารถคิดค้นวิธีผ่าตัดเพื่อรักษา ผู้ป่วย ตลอดจนใช้น้ำยารักษาศพไม่ให้เน่าเปื่อย (มัมมี่) ความเจริญเหล่านี้ทำให้สังคมอียิปต์เจริญรุ่งเรืองต่อเนื่องหลายพันปี สามารถหล่อหลอมอารยธรรมของตนให้ก้าวหน้าและเป็นรากฐานของอารยธรรมตะวันตกใน เวลาต่อมา
เกร็ดความรู้ การทำมัมมี่ เริ่ม จากนำศพมาทำความสะอาด ล้วงเอาอวัยวะภายในออกโดยการใช้ตะขอที่ทำด้วยสำริดเกี่ยวเอาสมองออกทางโพรง จมูก ใช้มีดกรีดข้างลำตัว เพื่อล้วงเอาอวัยวะออกจากศพ เหลือเพียงหัวใจไว้ จากนั้นนำขี้เลือย เศษผ้าลินิน โคลน และเครื่องหอมใส่เข้าไปแทนที่ อวัยวะภายในซึ่งจะถูกนำไปล้างด้วยไวน์ปาล์ม แล้วบรรจุลงในภาชนะสี่เหลี่ยมมีฝาปิด ส่วนร่างจะนำไปดองเกลือ 7-10 วัน แล้วนำมาเคลือบน้ำมันสน ตกแต่งพันศพด้วยผ้าลินินสีขาวชุบเรซิน บรรจุลงหีบศพพร้อมกับเครื่องรางของขลังต่างๆ รวมถึงหน้ากากจำลองใบหน้าของผู้ตายใส่ในหีบศพอีกด้วย
2.ความเจริญรุ่งเรืองของอาณาจักรอียิปต์
อาณาจักรอียิปต์ก่อตัวขึ้นเมื่อประมาณ 3100 ปีก่อนคริสต์ศักราช และมีความเจริญรุ่งเรืองต่อเนื่องมาเกือบ 3000 ปี มีราชวงศ์ปกครองประมาณ 30 ราชวงศ์ อาณาจักรอียิปต์แบ่งช่วงการปกครองเป็น 4 สมัย คือ สมัยราชอาณาจักรเก่า สมัยราชอาณาจักรกลาง สมัยราชอาณาจักรใหม่ และสมัยเสื่อมอำนาจ อย่างไรก็ตามไม่มีหลักฐานประเภทลายลักษณ์ระบุช่วงเวลาของแต่ละสมัยไว้ชัดเจน นักประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่จึงกำหนดช่วงเวลาโดยวิธีการประมาณการ
สมัยราชอาณาจักรเก่า (The Old Kingdom) สมัยราชอาณาจักรเก่ามีความเจริญรุ่งเรืองในช่วงประมาณปี 2700-2200 ก่อนคริสต์ศักราช เป็นสมัยที่อียิปต์มีความเจริญก้าวหน้าในด้านวิทยาศาสตร์และศิลปกรรม มีการก่อสร้างพีระมิดซึ่งถือว่าเป็นเอกลักษณ์โดดเด่นของอารยธรรมอียิปต์ ช่วงปลายสมัยนี้บ้านเมืองเกิดการจลาจลวุ่นวายเนื่องจากรัฐบาลกลางเสื่อม อำนาจนานประมาณ 150 ปี56
สมัยราชอาณาจักรกลาง (The Middle Kingdom) สมัยราชอาณาจักกลาง ฟาโรห์มีอำนาจปกครองอยู่ในช่วงราวปี 2015-1652 ก่อนคริสต์ศักราช ในสมัยราชอาณาจักรกลางนี้ อียิปต์มีความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาการและภูมิปัญญามากโดยเฉพาะด้านการชล ประทาน ดังนั้นจึงได้รับการยกย่องว่าเป็นยุคทองของอียิปต์ อย่างไรก็ตาม ในช่วงปลายสมัยนี้เกิดความวุ่นวายในประเทศ จนต่างชาติเข้ามารุกรานและปกครองอียิปต์
สมัยราชอาณาจักรใหม่ (The New Kingdom) ชาว อียิปต์สามารถขับไล่ชาวต่างชาติและกลับมาปกครองดินแดนของตนอีกครั้งหนึ่ง ในช่วงประมาณปี 1567-1085 ก่อนคริสต์ศักราช จึงเรียกช่วงการปกครองสมัยนี้ว่าสมัยราชอาณาจักรใหม่ สมัยนี้ฟาโรห์มีอำนาจเด็ดขาจในการปกครองและขยายอาณาเขตเหนือดินแดนใกล้เคียง จนเป็นจักรวรรดิอียิปต์
สมัยเสื่อมอำนาจ (The Decline) จักรวรรดิอียิปต์เสื่อมอำนาจตั้งแต่ประมาณปี 1100 ก่อนคริสต์ศักราช ในสมัยนี้ชาวต่างชาติ เช่น พวกแอลซีเรียนและพวกเปอร์เซียจากเอเชีย รวมทั้งชนชาติในแอฟริกาได้เข้ารุกรานอียิปต์และปกครองบางส่วนของอียิปต์ แต่ฟาโรห์ของอียิปต์ก็ยังคงปกครองดินแดนของตนต่อมาจนถึงประมาณปี 300 ก่อนคริสต์ศักราช ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่อาณาจักรอียิปต์เสื่อมสลายและถูกชาวต่างชาติยึดครอง
3.ความรุ่งเรืองของอารยธรรมอียิปต์
ชาวอียิปต์ได้สร้่างความเจริญให้แก่ชาวโลกเป็นจำนวนมาก อารยะรรมส่วนใหญ่เกิดจากการสร้างสรรค์โดยภูมิปัญญาของชาวอียิปต์ ซึ่งได้ประดิษฐ์และคิดค้นความเจริญด้านต่างๆ เพื่อตอบสนองความจำเป็นในการดำเนินชีวิตและความเชื่อทางศาสนา
ศาสนา ศาสนามีอิธิพลสำคัญต่อการดำเนินชีวิตและการสร้างสรรค์อารยธรรมอียิปต์ ความเชื่อทางศาสนาของชาวอียิปต์ผูกพันกับธรรมชาติและสภาพภูมิศาสตร์ จะเห็นได้ว่าชาวอียิปต์นับถือเทพเจ้าหลายองค์ทั้งที่เป็นสรรพสิ่งตามธรรมชาติและวิญญาณของอดีตฟาโรห์ โดยบูชาสัตว์ต่างๆ เช่น แมว สุนัข หมาใน วัว เหยี่ยว แกะ ฯลฯ เพราะเชื่อว่าสัตว์เหล่านั้นเป็นที่สิงสถิตของเทพซึ่งพิทักษ์มนุษย์ แต่เทพเจ้าที่เชื่อว่ามีอำนาจปกครองจักรวาลคือ เร หรือ รา (Re or Ra) ซึ่งเป็นเทพแห่งดวงอาทิตย์และเป็นหัวหน้าแห่งเทพเจ้าทั้งปวง โอริซิส (Orisis) ซึ่งเป็นเทพแห่งแม่น้ำไนล์ผู้บันดาลความอุดมสมบูรณ์ให้แก่อียิปต์และเป็นผู้พิทักษ์ดวงวัญญาณหลังความตาย และไอซิส ซึ่งเป็นเทวีผู้สร้างและชุบชีวิตคนตาย และยังเป็นชายาของเทพโอริซิสอีกด้วย ชาวอียิปต์นับถือฟาโรห์ของตนเสมือนเทพเจ้าองค์หนึ่งและเชื่อว่าวิญญาณเป็นอมตะ จึงสร้างสุสานขนาดใหญ่หรือพีระมิดสำหรับเก็บร่างกายที่ทำให้ไม่เน่าเปื่อยด้วยวิธีการมัมมี่ เพื่อรองรับวิญญาณที่จะกลับคืนมา อนึ่ง ความเชื่อทางศาสนายังทำให้เกิดกาารบันทึกเรื่องราวเกี่ยวกับความเชื่อ และพิธีกรรมตามสถานที่ต่างๆ ที่สำคัญได้แก่คัมภีร์ของผู้ตายหรือคัมภีร์มรณะ (Book of The Dead) ซึ่งอธิบายผลงานและคุณความดีในอดีตของดวงวิญญาณที่รอรับการตัดสินของเทพโอริซิส บันทึกเหล่านี้ช่วยให้เข้าใจถึงวิถีชีวิตชาวอียิปต์และพัฒนาการของอารยธรรมด้านต่างๆ ได้ดี
กล่าวได้ว่า ศาสนามีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมอำนาจการปกครองของสถาบันกษัตริย์อียิปต์ เป็นการสร้างความชอบธรรมให้แก่สถานะและอำนาจของฟาโรห์ นอกจากนี้ความเชื่อทางศาสนาของชาวอียิปต์ยังส่งเสริมให้เกิดความเจริญทางด้านวิทยาการด้านต่างๆ และศิลปกรรมอีกด้วย
ความเจริญด้านวิทยาการ ชาวอียิปต์สั่งสมความเจริญทางวิทยาการต่างๆ ให้แก่ชาวโลกหลายแขนง ที่สำคัยได้แก่ ควมาเจิญด้านดาราศาสตร์ คณิตศาสตร์ การแพทย์ และอักษรศาสตร์
ด้านดาราศาสตร์ เกิดจากการสังเกตปรากฏการ์ณที่น้ำในแม่น้ำไนล์หลากท่วมล้นตลิ่ง เมื่อน้ำลดแล้วพื้นดินก็มีความเหมาะสมที่จะเพาะปลูก หลังจากชาวนาเก็บเกี่ยวพืชผลแล้วน้ำในแม่น้ำไนล์ก็กลับมาท่วมอีก หมุนเวียนเช่นนี้ตลอดไป ชาวอียิปต์ได้นำความรู้จากประสบการ์ณดังกล่าวไปคำนวณปฏิทิน นับรวมเป็น 1 ปี มี 12 ดือน ในรอบ 1 ปียังบ่งเป็น 3 ฤดูที่กำหนดตามวิถีการประกอบอาชีพ คือ ฤดูน้ำท่วม ฤดูไถหว่าน และฤดูเก้บเกี่ยว
ด้านคณิตศาสตร์ โดยเฉพาะการคำนวณขั้นพื้นฐาน ได้แก่ การบวก ลบ และหาร และการคำนวณพื้นที่วงกลม สี่เหลี่ยม และสามเหลี่ยม ความรู้ ดังกล่าวเป็นฐานของวิชาฟิสิกส์ ซึ่งชาวอียิปต์ใช้คำนวณในการก่อสร้างพีระมิด วิหาร เสาหินขนาดใหญ่ ฯลฯ
ด้านการแพทย์ มี ความก้าวหน้าทางด้านการแพทย์มาก เอกสารที่บันทึกเมื่อ 1700 ปีก่อนคริสต์ศักราช ระบุว่าอียิปต์มีผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์หลายสาขา เช่น ทันตแพทย์ ศัลยแพทย์ และแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับกระเพาะอาหาร ในสมัยนี้แพทย์อียิปต์สามารถผ่าตัดคนไข้แบบง่ายๆ ได้แล้ว นอกจากนี้ยังคิดค้นวิธีปรุงยารักษาโรคต่างๆ ได้จำนวนมาก โดยรวบรวมเป็นตำราเล่มแรก ซึ่งต่อมาถูกนำไปใช้กันแพร่หลายในทวีปยุโรป
ด้านอักษรศาสตร์ อักษรไฮโรกลิฟิกเป็นอักษรรุ่นแรกที่อียิปต์ประดิษฐ์ขึ้นเมื่อประมาณปี 3100 ปีก่อนคริสต์ศักราช เป็นอักษรภาพแสดงลักษณ์ต่างๆ ต่อมามีการพัฒนาตัวอักษรเป็นแบบพยัญชนะ ในระยะแรก ชาวอียิปต์จารึกเรื่องราวด้วยการแกะสลักอักษรไว้ตามกำแพงและผนังของสิ่งก่อ สร้าง เช่น วิหารและพีระมิด ต่อมาค้นพบวิธีทำกระดาษจากต้นปาปิรุส ทำให้มีการบันทึกแพร่หลายมากขึ้น ความก้าวหน้าทางอักษรศาสตร์จึงเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่ทำให้ชาวโลก ทราบถึงความเจริญและความต่อเนื่องของอารยธรรมอียิปต์
ศิลปกรรม ศิลปกรรมของอียิปต์ที่โดเด่น ได้แก่ สถาปัตยกรรมและประติมากรรมซึ่งมีอยู่เป็นจำนวนมาก ส่วนใหญ่ยังปรากฏหลักฐานและร่องรอยอยู่ในปัจจุบัน
สถาปัตยกรรม เอกลักษณ์ของสถาปัตยกรรมอียิปต์คือพีระมิด ซึ่งสร้างขึ้นด้วยจุดประสงค์ทางศาสนาและอำนาจทางการปกครอง ด้วยความเชื่อทางศาสนา ฟาโรห์ของอียิปต์จึงสร้างพีระมิดสำหรับหรับตนเอง สันนิษฐานว่า พีระมิดรุ่นแรกๆ สร้างขึ้นราวปี 2770 ก่อนคริสต์ศักราช ความยิ่งใหญ่ของพีระมิดสะท้อนถึงอำนาจของฟาโรห์ ความสามารถในการออกแบบและก่อสร้างของชาวอียิปต์ เช่น พีระมิดแห่งเมืองกิซา (Giza) ซึ่งใช้แรงงานคนถึง 100000 คน ทำการก่อสร้างพีระมิดขนาดความสูง 137 เมตร เป็นเวลานานถึง 20 ปี โดยใช้หินทรายตัดเป็นก้อนสี่เหลี่ยม น้ำหนักขนาด 2.2-2.5 ตัน รวมประมาณ 2 ล้านก้อนเป็นวัสดุก่อสร้าง
นอกจากพีระมิดแล้ว อียิปต์ยังสร้างวิหารจำนวนมาก เพื่อบูชาเทพเจ้าแต่ละองค์และเทพประจำท้องถิ่นภายในวิหารมักจะประดับด้วยเสาหินขยาดใหญ่ซึ่งแกะสลักลวดลายอย่างงดงาม วิหารที่สำคัญและยิ่งใหญ่ของอียิปต์ ได้แก่ วิหารแห่งเมืองคาร์นัก (Karnak) และวิหารแห่งเมืองลักซอร์ (Luxor)
ประติมากรรม ชาวอียิปต์สร้างผลงานประติมากรรมไว้จำนวนมาก ทั้งที่เป็นรูปปั้นและภาพสลัก ส่วนใหญ่ประดับอยู่ในพีระมิดและวิหาร ที่พบในพีระมิดมักเป็นรูปปั้นของฟาโรห์และมเหสี ภาพสลักที่แสดงถึงเรื่องราวต่างๆ และวิถีชีวิตของชาวอียิปต์ ส่วนในวิหารมักเป็นรูปปั้นสัญลักษณ์ของเทพและสัตว์ศักดิ์สิทธิ์ที่นับถือ เช่น สุนัข แมว เหยี่ยว ฯลฯ และภาพสลักที่แสดงเรื่องราวและเหตุการณ์
imagesจิตรกรรม ชาวอียิปต์มีผลงานด้านจิตรกรรมจำนวนมาก มักพบในพีระมิดและสุสานต่างๆ ภาพวดของชาวอียิปต์ส่วนใหญ่มีสีสันสดใส มีทั้งภาพสัญลักษณ์ของเทพเจ้าที่ชาวอียิปต์นับถือ พระราชกรณียกิจของฟาโรห์และสมาชิกในราชวงศ์ ภาพบุคคลทั่วไปและภาพ ที่สะท้อนวิถีชีวิตของชาวอียิปต์ เช่น การประกอบเกษตรกรรม
download (1)ความเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจ ความรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจทำให้จักรวรรดิอียิปต์มั่นคงก้าวหน้าต่อเนื่องเป็นเวลา หลายพันปี และเป็นพื้นฐานของระบบเศรษฐกิจอียิปต์ปัจจุบัน ความรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจของอียิปต์ประกอบด้วยเกษตรกรรม พาณิชยกรรม และอุตสาหกรรม
เกษตรกรรม เป็น รากฐานทางเศรษฐกิจของจักรวรรดิอียิปต์ ประชากรส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรที่อาศัยน้ำจากแม่น้ำไนล์ในการเพาะปลูก ทำให้มีการคิดค้นระบบชลประทน ทำคลองส่งน้ำจากแม่น้ำไนล์เข้าไปยังพื้นที่ที่ห่างจากฝั่ง ระบบชลประทานจึงเป็นเทคโนโลยีสำคัยที่ช่วยให้เกษตรกรอียิปต์ดำเนินการเพาะ ปลูกพืชสำหรับบริโภคภายในจักรวรรดิและพืชเศรษฐกิจอื่นๆได้ต่อเนื่อง ไม่ต้องละทิ้งถิ่นฐานไปแสวงหาดินแดนที่อุดมสมบูรณ์มากกว่า อนึ่ง ผลิตผลทางเกษตรที่สำคัญของชาวอียิปต์ ได้แก่ ข้าวสาลี ข้าวบาร์เลย์ ข้าวฟ่าง ผัก ผลไม้ ปอ และฝ้าย
พาณิชยกรรม จักรวรรดิอียิปต์ติดต่อค้าขายกับดินแดนอื่นๆ ตั้งแต่ประมาณ 2000 ปีก่อนคริสต์ศักราช ดินแดนที่ติดต่อค้าขายเป็นประจำ ได้แก่ เกาะครีต (Crete) และดินแดนเมโสโปเตเมีย โดยเฉพาะฟีนิเชีย ปาเลสไตน์ และซีเรีย สินค้าส่งออกที่สำคัญของอียิปต์คือ ทองคำ ข้าวสาลี และผ้าลินิน ส่วนสินค้าที่นำเข้าที่สำคัญ ได้แก่ แร่เงิน งาช้าง และไม้ซุง
อุตสาหกรรม อียิปต์เริ่มพัฒนาอุตสาหกรรมตั้งแต่ประมาณ 3000 ปีก่อนคริสต์ศักราช ปัจจัยสำคัญที่ทำให้อุตสาหกรมมของอียิปต์เติบโตคือ การมีช่างฝีมือและแรงงานจำนวนมาก มีเทคโนโลยีและวิทยาการที่ก้าวหน้า มีวัตถุดิบ และมีการติดต่อค้าขายกับดินแดนอื่นๆ อย่างกว้างขวาง ดังนั้นอียิปต์จึงสามารถพัฒนาระบบอุตสาหกรรมที่ผลิตสินค้าได้จำนวนมาก อุตสาหกรรมที่สำคัญ ได้แก่ การทำเหมืองแร่ การต่อเรือ การทำเครื่องปั้นดินเผา การทำเครื่องแก้ว และการทอผ้าลินิน
ความรุ่งเรืองมั่งคั่ง ทำให้จักรวรรดิอียิปต์สามารถสั่งสมและหล่อหลอมอารยธรรมของตนให้เจริญก้าว หน้าต่อเนื่องมายาวนาน ดินแดนอียิปต์จึงเป็นที่หมายปองของประเทศเพื่อนบ้านที่พยายามขยายอิทธิพล เข้าครอบครองดินแดนแห่งนี้ อย่างไรก็ตาม แม้จักรวรรดิอียิปต์เสื่อมสลายไปในช่วงก่อนคริสต์ศักราชแล้ง แต่อารยะรรมอียิปต์มิได้เสื่อมสลายไปด้วย หากกลายเป็นมรดกตกทอดที่ชนรุ่นหลังนำมาพัฒนาเป็นอารยธรรมของมนุษยชาติในปัจจุบัน
อารธรรมกรีก
อารธรรมกรีก
ชาวกรีกโบราณเรียกตัวเองว่า “เฮลลีน” (Hellene) เป็นพวกอินโด-ยูโรเปียนกลุ่มหนึ่งที่อพยพมาจากทางตอนเหนือของประเทศกรีซปัจจุบันเมื่อประมาณ 2000 ปีก่อนคริสต์ศักราช ในระยะแรก กระจายอยู่เป็นเผ่าต่างๆ ในคาบสมุทรบอลข่านและเขตทะเลอีเจียน ที่สำคัญได้แก่ พวกไอโอเนียน (Ionians) และพวกไมซีเนียน (Mycenaeans) โดยทั่วไปชาวกรีกโบราณประกอบอาชีพเกษตรกรรมและเดินเรือ ต่อมาเผ่าที่มีความเจริญได้ขยายอำนาจและก่อตั้งเป็นนครรัฐ ที่สำคัญได้แก่นครรัฐของพวกไมซีเนียนซึ่งยึดครองพื้นที่ส่วนใหญ่ และมีอำนาจสูงสุดประมาณปี 1600-1100 ก่อนคริสต์ศักราช โดยมีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองไมซีเนทางตอนใต้ของประเทศกรีซในปัจจุบัน พวกไมซีเนียนเป็นนักรบที่มีความเก่งกล้าสามารถยึดครองดินแดนของนครรัฐอื่นๆ รวมทั้งเกาะครีต และรับอิทธิพลของอารยธรรมต่างๆ โดยเฉพาะอารยธรรมไมนวนของชาวเกาะครีตต่อมาประมาณปี 1100 ก่อนคริสต์ศักราช พวกกรีกอีกกลุ่มหนึ่งเรียกว่า ดอเรียน (Dorians) ซึ่งอพยพมาจากทางเหนือและขยายอำนาจครอบครองดินแดนของพวกไมซีเนียน พวกนี้ได้สร้างนครรัฐสปาร์ตาเป็นศูนย์กลางปกครองของตน พวกดอเรียนมีความเจริญน้อยกว่าไมซีเนียนและไม่รู้หนังสือ จึงไม่มีหลักฐานที่กล่าวถึงดินแดนกรีกภายใต้อิทธิพลของพวกดอเรียนในช่วงปี 1100-750 ก่อนคริสต์ศักราชมากนัก จนกระทั่งประมาณปี 750 ก่อนคริสต์ศักราช ได้มีการประดิษฐ์อักษรซึ่งรับรู)แบบมาจากอักษรและพยัญชนะของพวกฟีนิเชียนที่เข้ามาติดต่อค้าขายในช่วงนั้น อย่างไรก็ตามแม้พวกดอเรียนจะมีอำนาจเข้มแข็งแต่ก็ไม่สามารถรวมอำนาจปกครองนครรัฐกรีกได้ทั้งหมดหลักจากนครรัฐสปาร์ตาเสื่อมอำนาจ เมื่อปี 371 กาอนคริสต์ศักราช นครรัฐกีกอื่นๆ ก็พยายามรวมตัวกันโดยมีนาครรัฐทีบีส (Thebes) เป็นผู้นำ แต่ในที่สุดก็ถูกกษัตริย์ฟิลิปแห่งมาซิโดเนียซึ่งอยู่ในเขตเอเชียไมเนอร์รุกรานและครอบครองเมืื่อปี 338 ก่อนคริสต์ศักราช ต่อมาเมื่อพระเจ้าอะเล็กซานเดอร์มหาราช (Alexander the Great, ปี 336-323 ก่อนคริสต์ศักราช) โอรสของพระเจ้าฟิลิปได้ปกครองจักรวรรดิมาซิโดเนีย พระองศ์ได้ขยายอาณาจักรออกไปอย่างกว้างขวางจนถึงเขตลุ่มแม่น้ำสินธุและได้ครอบครองแหล่งอารยธรรมต่างๆ ของโลก ได้แก่ อียิปต์ เมโสโปเตเมีย และเปอร์เซีย จึงมีการรับความเจริญจากแหล่งต่างๆ เหล่านั้นมาผสมผสานกับอารยธรรมกรีก เรียกว่า อารยธรรมเฮลเลนิสติกตามชื่อสมัยเฮลเลนิสติก (Hellenistic) ซึ่งเริ่มตั้งแต่สมัยของพระเจ้าอะเล็กซานเดอร์มหาราชจนกระทั่งสิ้นสลายเมื่อประมาณปี 146 ก่อนคริสต์ศักราช จากนั้นดินแดนกรีกได้ตกอยู่ใต้การปกครองของจักรวรรดิโรมัน ความเจริญต่างๆ ที่ชาวกรีกสั่งสมไว้ก็กลายเป็นส่วนหนึ่งของอารยธรรมโรมัน
มรดกของอารยธรรมกรีก
1.ด้านสถาปัตยกรรม ชาวเอเธนส์ได้สร้างสรรค์งานด้านสถาปัตยกรรมที่โดดเด่นให้แก่ชาวโลกจำนวนมาก ส่วนใหญ่เป็นการก่อสร้างอาคารเพื่อกิจกรรมสาธารณะ เช่น วิหาร สนามกีฬา และโรงละคร ความโดดเด่นของงานสถาปัตยกรรมไม่ได้ขึ้นอยู่กับความใหญ่โตของสิ่งก่อสร้าง แต่เป็นความงดงามของสัดส่วนที่สมบูรณ์
แบบ ตัวอย่างเช่น วิหารพาร์เทนอน (Parthenon) ที่ตั้งอยู่บนเนินเขาอะโครโพลิส (Acropolis) เป็นสิ่งก่อสร้างที่มีสัดส่วนงดงามทั้งความยาว ความกวว้างและความสูง จัดว่าเป็นผลงานชิ้นเอกของโลก สถาปั ตยกรรมของกรีกแบ่งออกเป็น 3 ชนิดตามลักษณะของหั วเสาได้แก่ แบบดอริ ก(Doric) ที่มีลักษณะตัวเสาส่วนล่างใหญ่เรียวขึ้นเล็กน้อยตามลำเสาเป็นทางยาวไม่มีลวดลายแบบไอโอนิก (Ionic) มีลักษณะเรียวว่าแบบดอริกแผ่นหินบนหัวเสามีลอนย้อยม้วนลงมาทั้งสองข้างทำให้มีความแช่มช้อยและ แบบโครินเธียน(Corinthian) เป็นแบบที่ดัดแปลงโดยมี การตกแต่งประดับประดาหัวเสาด้วยการแกะสลักเป็นรูปใบไม้ทำให้หรูหรามากขึ้น
2.ความเจริญด้านปรัชญา ความเจริญด้านปรัชญาได้รับการยกย่องว่าเป็นความเจริญรสูงสุดของภูมิปัญญากรีกเช่นเดียวกับความเจริญด้านศิลปกรรม นักปรัชญากรีกที่มีชื่อเสียงโดดเด่น ได้แก่ โซเครติส เพลโต และอริสโตเติล
โสเครติส (Socrates) เกิดที่นครเอเธนส์ มีชีวิตอยู่ระหว่างปี 469-399 ก่อนคริสต์ศักราช เขาสอนให้คนใช้เหตุผลและสติปัญญาในการแสวงหาความจริงเกี่ยวกับชีวิตมนุษย์ วิธีสอนของเขาซึ่งเรียกว่า “Socretic method” ไม่เน้นการท่องจำ แต่ใช้วิธีตั้งคำถามโดยไม่ต้องการคำตอบ แต่ให้ผู้ถูกถามขบคิดปัญหาเพื่อหาคำตอบด้วยตนเอง แม้โซเครติสจะสั่งสอนลูกศิษย์มากมาย แต่ก็ไม่เคยมีผลงานเขียนของตนเอง ดังนั้นปรัชญาและทฤษฎีของเขาที่รู้จักกันสืบมาจึงเป็นผลงานที่ถ่ายทอดโดยลูกศิษย์ของเขา
เพลโต (Plato) เป็นศิษย์เอกของโซเครติส เกิดที่นครเอเธนส์ประมาณ 429 ปีก่อนคริสต์ศักราชและเป็นผู้ถ่ายทอดหลักการและความคิดของโซเครติสให้ชาวโลกได้รับรู้ เพลโตได้เปิดโรงเรียนชื่อ “อะแคเดอมี” (Academy) และได้เขียนหนังสือที่สะท้อนแนวคิดเกี่ยวกับการปกครอง การศึกษา ระบบยุติธรรม ผลงานที่โดนเด่นและทำให้เขาได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาแห่งปรัชญาการเมืองสมัยใหม่คือหนังสือชื่อ สาธารณรัฐ (Republic) ซึ่งเสนอแนวคิดในการปกครองประเทศและมีอิทธิพลต่อความคิดทางการเมืองของผู้คนทั่วโลก
อริสโตเติล (Aristotle) เป็นทั้งนักปรัชญาและนักวิทยาศาสตร์ เขาเป็นศิษย์ที่ชาญฉลาดของเพลโตและเคยเป็นพระอาจารย์ของพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชแห่งมาซิโดเนีย อริสโตเติลเป็นทั้งปราชญ์และนักวิจัยที่มีความสนใจหลากหลาย นอกจากปรัชญาทางการเมืองแล้ว เขายังสนใจวิทยาการใหม่ๆ อีกมาก เช่น ชีววิทยา ฟิสิกส์ ดาราศาสตร์ หลักตรรกศาสตร์ วาทกรรม จริยศาสตร์ ฯลฯ ผลงานที่โดดเด่นของเขาคือหนังสือชื่อ การเมือง (Politics) ซึ่งเป็นการวิจัยรูปแบบการปกครองของนครรัฐต่างๆ ถึง 150 แห่ง
3.การเขียนประวัติศาสตร์ กรีกเป็นชาติแรกในโลกตะวันตกที่เริ่มศึกษาประวัติศาสตร์ตามแบบวิธีการทางประวัติศาสตร์ซึ่งได้แก่ การสืบค้นข้อมูล การตรวจสอบหลักฐาน และการเลือกใช้ข้อมูล นักประวัติศาสตร์กรีกคนแรกที่เริ่มเขียนงานประวัติศาตร์ในลักษณะนี้คือ เฮโรโดตัส (Herodotus) ซึ่งได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาแห่งประวัติศาสตร์ของโลกตะวันตก นอกจากนี้ยังมี ทูซิดิดีส (Thucydides) นักประวัติศาสตร์ที่ได้รับการยกย่องด้านการสร้างผลงานทางประวัติศาสตร์และมาตรฐานของวิธีการศึกษาค้นคว้าทางประวัติศาสตร์ ซึ่งเป็นแบบอย่างที่ยึดถือกันอยู่ในปัจจุบัน
ชาวกรีกโบราณเรียกตัวเองว่า “เฮลลีน” (Hellene) เป็นพวกอินโด-ยูโรเปียนกลุ่มหนึ่งที่อพยพมาจากทางตอนเหนือของประเทศกรีซปัจจุบันเมื่อประมาณ 2000 ปีก่อนคริสต์ศักราช ในระยะแรก กระจายอยู่เป็นเผ่าต่างๆ ในคาบสมุทรบอลข่านและเขตทะเลอีเจียน ที่สำคัญได้แก่ พวกไอโอเนียน (Ionians) และพวกไมซีเนียน (Mycenaeans) โดยทั่วไปชาวกรีกโบราณประกอบอาชีพเกษตรกรรมและเดินเรือ ต่อมาเผ่าที่มีความเจริญได้ขยายอำนาจและก่อตั้งเป็นนครรัฐ ที่สำคัญได้แก่นครรัฐของพวกไมซีเนียนซึ่งยึดครองพื้นที่ส่วนใหญ่ และมีอำนาจสูงสุดประมาณปี 1600-1100 ก่อนคริสต์ศักราช โดยมีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองไมซีเนทางตอนใต้ของประเทศกรีซในปัจจุบัน พวกไมซีเนียนเป็นนักรบที่มีความเก่งกล้าสามารถยึดครองดินแดนของนครรัฐอื่นๆ รวมทั้งเกาะครีต และรับอิทธิพลของอารยธรรมต่างๆ โดยเฉพาะอารยธรรมไมนวนของชาวเกาะครีตต่อมาประมาณปี 1100 ก่อนคริสต์ศักราช พวกกรีกอีกกลุ่มหนึ่งเรียกว่า ดอเรียน (Dorians) ซึ่งอพยพมาจากทางเหนือและขยายอำนาจครอบครองดินแดนของพวกไมซีเนียน พวกนี้ได้สร้างนครรัฐสปาร์ตาเป็นศูนย์กลางปกครองของตน พวกดอเรียนมีความเจริญน้อยกว่าไมซีเนียนและไม่รู้หนังสือ จึงไม่มีหลักฐานที่กล่าวถึงดินแดนกรีกภายใต้อิทธิพลของพวกดอเรียนในช่วงปี 1100-750 ก่อนคริสต์ศักราชมากนัก จนกระทั่งประมาณปี 750 ก่อนคริสต์ศักราช ได้มีการประดิษฐ์อักษรซึ่งรับรู)แบบมาจากอักษรและพยัญชนะของพวกฟีนิเชียนที่เข้ามาติดต่อค้าขายในช่วงนั้น อย่างไรก็ตามแม้พวกดอเรียนจะมีอำนาจเข้มแข็งแต่ก็ไม่สามารถรวมอำนาจปกครองนครรัฐกรีกได้ทั้งหมดหลักจากนครรัฐสปาร์ตาเสื่อมอำนาจ เมื่อปี 371 กาอนคริสต์ศักราช นครรัฐกีกอื่นๆ ก็พยายามรวมตัวกันโดยมีนาครรัฐทีบีส (Thebes) เป็นผู้นำ แต่ในที่สุดก็ถูกกษัตริย์ฟิลิปแห่งมาซิโดเนียซึ่งอยู่ในเขตเอเชียไมเนอร์รุกรานและครอบครองเมืื่อปี 338 ก่อนคริสต์ศักราช ต่อมาเมื่อพระเจ้าอะเล็กซานเดอร์มหาราช (Alexander the Great, ปี 336-323 ก่อนคริสต์ศักราช) โอรสของพระเจ้าฟิลิปได้ปกครองจักรวรรดิมาซิโดเนีย พระองศ์ได้ขยายอาณาจักรออกไปอย่างกว้างขวางจนถึงเขตลุ่มแม่น้ำสินธุและได้ครอบครองแหล่งอารยธรรมต่างๆ ของโลก ได้แก่ อียิปต์ เมโสโปเตเมีย และเปอร์เซีย จึงมีการรับความเจริญจากแหล่งต่างๆ เหล่านั้นมาผสมผสานกับอารยธรรมกรีก เรียกว่า อารยธรรมเฮลเลนิสติกตามชื่อสมัยเฮลเลนิสติก (Hellenistic) ซึ่งเริ่มตั้งแต่สมัยของพระเจ้าอะเล็กซานเดอร์มหาราชจนกระทั่งสิ้นสลายเมื่อประมาณปี 146 ก่อนคริสต์ศักราช จากนั้นดินแดนกรีกได้ตกอยู่ใต้การปกครองของจักรวรรดิโรมัน ความเจริญต่างๆ ที่ชาวกรีกสั่งสมไว้ก็กลายเป็นส่วนหนึ่งของอารยธรรมโรมัน
มรดกของอารยธรรมกรีก
1.ด้านสถาปัตยกรรม ชาวเอเธนส์ได้สร้างสรรค์งานด้านสถาปัตยกรรมที่โดดเด่นให้แก่ชาวโลกจำนวนมาก ส่วนใหญ่เป็นการก่อสร้างอาคารเพื่อกิจกรรมสาธารณะ เช่น วิหาร สนามกีฬา และโรงละคร ความโดดเด่นของงานสถาปัตยกรรมไม่ได้ขึ้นอยู่กับความใหญ่โตของสิ่งก่อสร้าง แต่เป็นความงดงามของสัดส่วนที่สมบูรณ์
แบบ ตัวอย่างเช่น วิหารพาร์เทนอน (Parthenon) ที่ตั้งอยู่บนเนินเขาอะโครโพลิส (Acropolis) เป็นสิ่งก่อสร้างที่มีสัดส่วนงดงามทั้งความยาว ความกวว้างและความสูง จัดว่าเป็นผลงานชิ้นเอกของโลก สถาปั ตยกรรมของกรีกแบ่งออกเป็น 3 ชนิดตามลักษณะของหั วเสาได้แก่ แบบดอริ ก(Doric) ที่มีลักษณะตัวเสาส่วนล่างใหญ่เรียวขึ้นเล็กน้อยตามลำเสาเป็นทางยาวไม่มีลวดลายแบบไอโอนิก (Ionic) มีลักษณะเรียวว่าแบบดอริกแผ่นหินบนหัวเสามีลอนย้อยม้วนลงมาทั้งสองข้างทำให้มีความแช่มช้อยและ แบบโครินเธียน(Corinthian) เป็นแบบที่ดัดแปลงโดยมี การตกแต่งประดับประดาหัวเสาด้วยการแกะสลักเป็นรูปใบไม้ทำให้หรูหรามากขึ้น
2.ความเจริญด้านปรัชญา ความเจริญด้านปรัชญาได้รับการยกย่องว่าเป็นความเจริญรสูงสุดของภูมิปัญญากรีกเช่นเดียวกับความเจริญด้านศิลปกรรม นักปรัชญากรีกที่มีชื่อเสียงโดดเด่น ได้แก่ โซเครติส เพลโต และอริสโตเติล
โสเครติส (Socrates) เกิดที่นครเอเธนส์ มีชีวิตอยู่ระหว่างปี 469-399 ก่อนคริสต์ศักราช เขาสอนให้คนใช้เหตุผลและสติปัญญาในการแสวงหาความจริงเกี่ยวกับชีวิตมนุษย์ วิธีสอนของเขาซึ่งเรียกว่า “Socretic method” ไม่เน้นการท่องจำ แต่ใช้วิธีตั้งคำถามโดยไม่ต้องการคำตอบ แต่ให้ผู้ถูกถามขบคิดปัญหาเพื่อหาคำตอบด้วยตนเอง แม้โซเครติสจะสั่งสอนลูกศิษย์มากมาย แต่ก็ไม่เคยมีผลงานเขียนของตนเอง ดังนั้นปรัชญาและทฤษฎีของเขาที่รู้จักกันสืบมาจึงเป็นผลงานที่ถ่ายทอดโดยลูกศิษย์ของเขา
เพลโต (Plato) เป็นศิษย์เอกของโซเครติส เกิดที่นครเอเธนส์ประมาณ 429 ปีก่อนคริสต์ศักราชและเป็นผู้ถ่ายทอดหลักการและความคิดของโซเครติสให้ชาวโลกได้รับรู้ เพลโตได้เปิดโรงเรียนชื่อ “อะแคเดอมี” (Academy) และได้เขียนหนังสือที่สะท้อนแนวคิดเกี่ยวกับการปกครอง การศึกษา ระบบยุติธรรม ผลงานที่โดนเด่นและทำให้เขาได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาแห่งปรัชญาการเมืองสมัยใหม่คือหนังสือชื่อ สาธารณรัฐ (Republic) ซึ่งเสนอแนวคิดในการปกครองประเทศและมีอิทธิพลต่อความคิดทางการเมืองของผู้คนทั่วโลก
อริสโตเติล (Aristotle) เป็นทั้งนักปรัชญาและนักวิทยาศาสตร์ เขาเป็นศิษย์ที่ชาญฉลาดของเพลโตและเคยเป็นพระอาจารย์ของพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชแห่งมาซิโดเนีย อริสโตเติลเป็นทั้งปราชญ์และนักวิจัยที่มีความสนใจหลากหลาย นอกจากปรัชญาทางการเมืองแล้ว เขายังสนใจวิทยาการใหม่ๆ อีกมาก เช่น ชีววิทยา ฟิสิกส์ ดาราศาสตร์ หลักตรรกศาสตร์ วาทกรรม จริยศาสตร์ ฯลฯ ผลงานที่โดดเด่นของเขาคือหนังสือชื่อ การเมือง (Politics) ซึ่งเป็นการวิจัยรูปแบบการปกครองของนครรัฐต่างๆ ถึง 150 แห่ง
3.การเขียนประวัติศาสตร์ กรีกเป็นชาติแรกในโลกตะวันตกที่เริ่มศึกษาประวัติศาสตร์ตามแบบวิธีการทางประวัติศาสตร์ซึ่งได้แก่ การสืบค้นข้อมูล การตรวจสอบหลักฐาน และการเลือกใช้ข้อมูล นักประวัติศาสตร์กรีกคนแรกที่เริ่มเขียนงานประวัติศาตร์ในลักษณะนี้คือ เฮโรโดตัส (Herodotus) ซึ่งได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาแห่งประวัติศาสตร์ของโลกตะวันตก นอกจากนี้ยังมี ทูซิดิดีส (Thucydides) นักประวัติศาสตร์ที่ได้รับการยกย่องด้านการสร้างผลงานทางประวัติศาสตร์และมาตรฐานของวิธีการศึกษาค้นคว้าทางประวัติศาสตร์ ซึ่งเป็นแบบอย่างที่ยึดถือกันอยู่ในปัจจุบัน
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)